รูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงอย่างยั่งยืน ของโรงเรียนวัดเสนีวงศ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2

A Model of Administration Based on the Sustainability of the Sufficiency Economy Philosophy of Watseneewong School Under Nonthaburi Primary Education Service Area Office 2

Authors

  • ชนิตา ศิริชาติ

Keywords:

รูปแบบ, การบริหาร, สถานศึกษาพอเพียง, ความยั่งยืน, Model, Administration, The Philosophy of Sufficiency Economy, Sustainability

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงอย่างยั่งยืนของโรงเรียนวัดเสนีวงศ์ 2) ใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงอย่างยั่งยืนของโรงเรียนวัดเสนีวงศ์  3) ประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนวัดเสนีวงศ์ โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย คือ ขั้นตอนที่ 1 พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงอย่างยั่งยืนของโรงเรียนวัดเสนีวงศ์ ขั้นตอนที่ 2 ใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงอย่างยั่งยืนของโรงเรียนวัดเสนีวงศ์ ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงอย่างยั่งยืนของโรงเรียนวัดเสนีวงศ์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 167 คน ได้แก่ ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงอย่างยั่งยืนของโรงเรียนวัดเสนีวงศ์ มี 6 ด้าน ได้แก่ การบริหารจัดการ การพัฒนาบุคลากร การจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมนักเรียนและกิจกรรมโรงเรียน กระบวนการการสร้างความเปลี่ยนแปลง และการมีศักยภาพขยายผลอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ 2) ผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงอย่างยั่งยืนของโรงเรียนวัดเสนีวงศ์ จำแนกเป็น 2 ประเด็น ดังนี้ ผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียงอย่างยั่งยืนของโรงเรียนวัดเสนีวงศ์ โดยรวมทุกด้านมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินความยั่งยืนตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนวัดเสนีวงศ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  The purposes of this study were: 1) to develop a model of school administration based on the philosophy of sufficiency economy for sustainable development of Watseneewong school, 2) to implement the developed model, and 3) to evaluate the model's satisfaction. This research was conducted in 3 phases: Phase 1 involved the development of a sustainability sufficiency school administrative model. Phase II consisted of implementing the administration model based on the philosophy of sufficiency economy of Watseneewong school. Phase III evaluated the satisfaction of those involved in the administration model based on the philosophy of sufficiency economy of Watseneewong school. The samples in this study included administrators, teachers, students, parents, and the committee of basic education, 167 in total. The research instruments were the evaluation form with a reliability value of. 88. Content analysis, percentage, mean, and Standard Deviation were used to analyze the data. The findings revealed that 1) the administration model based on the sustainability of the philosophy of sufficiency economy of Watseneewong School consisted of 6 aspects: administration; personnel development; learning management; students and school activity arrangement; change-making process; and potential for quality and efficiency expansion. 2) The outcomes of implementing the model were divided into 2 aspects: in all respects, the results of implementing the sustainable school administration model yielded the highest level of practice. And the findings of sustainability assessment according to the philosophy of sufficiency economy were at the highest level. 3) Those involved with the school administration model according to the philosophy of sufficiency economy reported the highest level of overall satisfaction.

References

กนกภรณ์ รัตนยิ่ง. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 4 (ธนวิถี) จังหวัดยะลา ใน วารสารรายงานการวิจัย โรงเรียนเทศบาล 4 (ธนวิถี), หน้า 79 - 93.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการบริหารสถานศึกษาพอเพียง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ดี.

จักรปรุฬห์ วิชาอัครวิทย์. (2559). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

จุฑามาส พัฒนศิริ. (2560). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนในจังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2557). การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล. กรุงเทพฯ: สุรีวิริยาสาส์น.

เบญจมาพร โยกเกณฑ์. (2558). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาพอเพียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, อุตรดิตถ์.

ปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2551). เศรษฐกิจพอเพียงและการประยุกต์ใช้ด้านการศึกษา. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียงสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์.

ปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2556). เศรษฐกิจพอเพียงและการประยุกต์ใช้ด้านการศึกษา. กรุงเทพฯ : โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียงสานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์.

พศิน รัชเดชานนท์. (2550). การเสริมสร้างค่านิยมเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน

ภัทรานิษฐ์ รุ่งโรจน์ธนะชัย. (2556). ประสิทธิผลการบริหารตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 (งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ภูดิศ พัดพิน. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์, ปทุมธานี.

รัตนา หลวงกลาง. (2558). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

รุ่งรัชดาพร เวหะชาติ. (2548). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 3). สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.

ลัญจกร นิลกาญจน์, ปัญญา เลิศไกร และสุดาวรรณ์ มีบัว. (2560). เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 9(1), 203-211.

ลานนา หมื่นจันทร์. (2559). รายงานการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

วรดี เลิศไกร จรุงใจ มนต์เลี้ยง และสุชาดา จิตกล้า. (2559). การจัดกิจกรรมของเล่นภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย กรณีเทศบาลตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัด นครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 8(1), 71 - 94.

ศรีสุภางค์ ระเริง. (2559). การบริหารสถานศึกษาพอเพียง โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. การประชุม International Conference on Management Science, Innovation, and Technology 2016, 17 มิถุนายน 2559 ณ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. กรุงเทพมหานคร.

อนันต์ศักดิ์ ภูพลผัน. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ “การลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”. อุดรธานี: โรงเรียนไชยวานวิทยา.

Yamane, T. (1967). Statistic: An introductory analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

Published

2023-04-12