การจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบภาพเพื่อส่งเสริม การคิดเชิงบริหารของเด็กอนุบาล

Story Telling Activities with Picture to Develop Executive Functions for Kindergarteners

Authors

  • พิมพ์พิศา พองไสยา
  • สุพรรษา รอดเชียงล้ำ
  • ณัฐนิช วงค์ษา
  • ปวรา ชูสังข์
  • กัญจนา ศิลปกิจยาน
  • วณิชชา สิทธิพล

Keywords:

การจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบภาพ, การคิดเชิงบริหาร, เด็กอนุบาล, Storytelling activities with pictures, Executive Function, Kindergartener

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงบริหารของเด็กอนุบาล ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบภาพ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กอนุบาลที่มีอายุ 4-5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนบ้านชะโงมนาโดน จำนวน 25 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วันวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที ในช่วงก่อนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยการวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบภาพ จำนวน 24 แผน และแบบประเมินพฤติกรรมการคิดเชิงบริหารของเด็กอนุบาล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยของการคิดเชิงบริหารของเด็กอนุบาล ก่อนการจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบภาพ อยู่ระดับปานกลาง (µ = 25.20, = 0.48) และหลังการจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบภาพ อยู่ระดับมาก (µ = 36.70,  = 3.44)  และคะแนนเฉลี่ยของการคิดเชิงบริหารของเด็กอนุบาลที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบภาพสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบภาพ  The purpose of this research was to compare the executive functions of kindergarteners before and after engaging in storytelling activities with pictures. The target group in this research consisted of 25 kindergarteners, aged 4-5 years old, enrolled in kindergarten 3, Banchangomanadone School. The research was conducted over a period of 6 weeks, with sessions held 4 days per week for 30 minutes each before the circle time. The research instruments included 24 lesson plans for storytelling activities with pictures and the assessment form to evaluate the executive function behaviors of kindergarteners. The data was statistically analyzed by using mean and standard deviation. The research results indicated that the mean score of executive functions among the kindergarteners before participating in the storytelling activities with pictures was at a medium level (µ = 25.20, = 0.48) However, after engaging in the storytelling activities with pictures, the mean score for executive functions significantly increased to a high level (µ = 36.70,  = 3.44) Finally, the mean score of executive functions for kindergarteners who participated in the storytelling activity with pictures was higher compared to their pre-activity levels.

References

กระทรวงศึกษาศึกษา. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ดุษฎี อุปการ และอรปรียา ญาณะชัย. (2561). การเสริมสร้างพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยควรเลือกใช้หลักการใด: “การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน” หรือ “การคิดเชิงบริหาร. นนทบุรี: ศิลปากรมหาวิทยาลัย.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2561). รู้จักทักษะสมอง EF Executive Function Skills. คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions สาหรับครูปฐมวัย. กรุงเทพฯ: มติชน.

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2561). เลี้ยงลูกอย่างไรให้ได้ EF. กรุงเทพฯ: แพรวเพื่อนเด็ก อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

รุ่งเพชร หอมสุวรรณ์. (2564). การส่งเสริมทักษะการใช้สมองในการบริหารจัดการในเด็กปฐมวัย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 15(2), 27-37.

วรเกียรติ ทองไทย. (2553). ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่าเรื่องจาก หนังสือภาพ (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2545). เอกสารการเรียนการสอนวิชาพัฒนาการเรียนการสอน. มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิราณี อิ่มน้ำขาว และพูลสุข ศิริพูล. (2563). ทักษะการคิดเชิงบริหารจัดการชีวิตในเด็กปฐมวัย: การวิเคราะห์มโนทัศน์. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 30(3), 10-22.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสถาบัน RLG. (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EXECUTIVE FUNCTIONS สำหรับครูปฐมวัย. กรุงเทพฯ :รักลูกกรุ๊ป.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). แนวทางการจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุภาวดี หาญเมธี. (2559). พัฒนาทักษะสมอง EF ด้วยการอ่าน. กรุงเทพฯ: ไอดี ออล ดิจิตอล พริ้นท์.

สุภาวดี หาญเมธี. (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มติชน.

Diamond, A. (2016). Why improving and assessing executive functions early in life is critical. In J. A. Griffin, P. McCardle, & L. S. Freund (Eds.), Executive function in preschool-age children: Integrating measurement, neurodevelopment, and translational research (pp. 11–43). American Psychological Association.

Downloads

Published

2023-07-13