การพัฒนาหลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษที่บูรณาการโครงการในพระราชดำริฯ สำหรับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

The Development of an English Curriculum Integrated the Royal Initiative Project for Border Patrol Police

Authors

  • พิมพ์พธู สุตานันต์

Keywords:

การพัฒนาหลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษ, โครงการในพระราชดำริ, สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ-พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน, English Curriculum Development, Royal Projects, Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn, Border Patrol Police

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในจังหวัดเชียงใหม่ 2) พัฒนาหลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษที่บูรณาการโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 3) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรฯ 4) ประเมินคุณภาพหลักสูตรฯ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ระยะที่ 1 กลุ่มเป้าหมาย คือ ตำรวจที่รับผิดชอบดูแลด้านการจัดการศึกษา สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33 จำนวน 3 คน ครูใหญ่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 5 คน และครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 18 คน ระยะที่ 2 ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดประเมินผล ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ครูใหญ่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 9 คน ระยะที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองแขม ปีการศึกษา 2563 จำนวน 13 คน และระยะที่ 4 กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 4 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดเชียงใหม่ 4 โรงเรียน จำนวน 55 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ แบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปี 2563 และ 2564 และแบบประเมินคุณภาพหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์ ฐานะยากจน ด้อยโอกาส โรงเรียนดำเนินโครงการในพระราชดำริฯ แต่ไม่ได้นำมาบูรณาการกับรายวิชา ครูผู้สอนส่วนใหญ่ไม่มีวุฒิทางการศึกษา ไม่มีความรู้วิชาครู ไม่สามารถออกแบบหลักสูตรและวิธีการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทได้ จัดการเรียนรู้ตามหนังสือที่ส่วนกลางนำมาให้ทำให้ไม่สอดคล้องกับความสามารถของผู้เรียน ใช้การจัดการเรียนการสอนทางไกล (DLTV) มาช่วยสอน ขาดสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายและเหมาะสมวัดประเมินผลโดยเน้นการทดสอบมากกว่าการประเมินตามสภาพจริง และผลการทดสอบ O-NET วิชาภาษาอังกฤษต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระดับสังกัดและประเทศ 2) หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นเป็นการนำโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาบูรณาการกับเนื้อหาภาษาอังกฤษที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ใช้หลักการออกแบบของ ADDIE Model โดยวิเคราะห์ กำหนดเป้าหมายของผู้เรียน พัฒนาและออกแบบการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ประกอบด้วย (1) หลักการ (2) จุดมุ่งหมาย (3) โครงสร้างรายวิชาและหน่วยการเรียนรู้ จำนวน 8 หน่วย (4) กิจกรรมการเรียนรู้ และ (5) การวัดและประเมินผล 3) ผลการใช้หลักสูตร พบว่า นักเรียนมีผลการทดสอบ O-NET วิชาภาษาอังกฤษสูงขึ้นและสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับสังกัด มีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสูงขึ้น 4) ผลการประเมินคุณภาพหลักสูตรจากการขยายผลอยู่ในระดับดีมากและผลการทดสอบ O-NET ของนักเรียนสูงขึ้น  The objectives of this research were to: 1) study the current situation and the English learning management problems of border patrol police schools in Chiang Mai; 2) develop an English curriculum integrated with the Royal Initiative Project; 3) examine the outcomes of implementing the English curriculum; and 4) evaluate the curriculum. The research duration was divided into four phases. In the first phase, the target groups consisted of 3 Border Patrol Police Region 33 personnel responsible for education, 5 principals from Border Patrol Police Schools, and 18 English teachers. In the second phase, the informers included experts in English curriculums and English teaching methodologies, experts in learning measurement and evaluation, English teachers, principals of Border Patrol Police Schools, and 9 educational supervisors. In the third phase, the target groups were thirteen Grade 6 students during the academic year 2020-2021 at Ban Nong Kham border patrol police schools. Finally, the fourth phase involved 4 English teachers and fifty-five Grade 6 students from four border patrol police schools in Chiang Mai during the academic year 2020–2021. The research tools consisted of an interview form, an English communication skill assessment form, a result of the Ordinary National Educational Test (O-NET) taken by Grade 6 students during the academic year 2020-2021, and a curriculum quality assessment form. The collected data were analyzed using mean, standard deviation, and percentage as well as qualitative content analysis. The research yielded the following results: 1) Most of the students were from ethnic backgrounds and underprivileged families. Although the school had implemented the national basic education core curriculum, it lacked the integration of the Royal Initiative Projects into the learning management process to create a connection with real life. Additionally, teachers in the school were lack of bachelor's degrees in education, which limited their ability to deliver instruction to the students effectively. Furthermore, the school encountered challenges in designing a curriculum and implementing suitable learning management methods that aligned with the students' context and needs. Teachers primarily relied on the central authorities’ curriculum books for teaching or used distance learning management (DLTV) instead of using various materials. Consequently, these made the school's O-NET scores below national and affiliated averages. 2) The English curriculum was developed based on the design principles of the ADDIE model and integrated with the Royal Initiative Project. The components of the curriculum comprised: (1) curriculum principles; (2) the curriculum objectives; (3) course structure and learning units; (4) learning activities; and (5) assessment and evaluation. 3) The results of the curriculum implementation showed that students had higher O-NET test scores for the year 2021 and their English communication skills were improved. 4) The results of the curriculum quality assessment from the expansion were at a very good level and the students' O-NET test scores were higher.

References

กันต์พงศ์ ทวีสุข. (2566). ทำไมเด็กไทยไม่เก่งอังกฤษ 3 อุปสรรคกับทางเลือกสำหรับการพัฒนาภาษาอังกฤษของเด็กไทย. สืบค้น 23 มีนาคม 2564, จาก https://korpungun.com/three-obstacles-learning-english/

ดารินทร อินทับทิม, อภิญญา ห่านตระกูล, ศุภาวรรณ ปิงใจ, เพ็ญนภา คล้ายสิงห์โต, พูนพงษ์ งามเกษม, และเฉลิมพันธ์ แก้วกันทะ. (2562). การพัฒนาการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนเมี่ยน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเบ็ตตี้ดูเมนด้วยกระบวนการสอนแบบโฟนิกส์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 8(1), 67-84.

พงศธร มหาวิจิตร. (2558). Theme-Based Unit: ความท้าทายในการออกแบบการเรียนรู้สำหรับครูยุคใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 30(2), 93-101.

ปาริฉัตร ไกรสนาม, สุธาสินี บุญญาพิทักษ์, และเมธี ดิสวัสดิ. (2565). รูปแบบการเรียนรู้บูรณาการเนื้อหาและภาษา (CLIL) โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงของชุมชน เพื่อส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5-6 ในโรงเรียนเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้ จังหวัดสงขลา. การจัดประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 13 วันที่ 12 พฤษภาคม 2565 โดย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.

สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2546). การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562. สืบค้นจาก http://www.newonetresult. niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETP6_2562.pdf

โรงเรียนบ้านหนองแขม. (2562). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีของโรงเรียนบ้านหนองแขม. เชียงใหม่: โรงเรียนบ้านหนองแขม.

อนุสสรา เสริมศรี. (2555). การพัฒนาชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม). กรุงเทพฯ: โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

อิชยา กองไชย. (2564). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการฟังและพูดภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับลูกเสือมัคคุเทศก์ตามแนวคิดการใช้บริบทเป็นฐานการเรียนรู้ร่วมกัน และการเสริมต่อการเรียนรู้ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, สกลนคร.

Canale, M., & Swain, M. (1980). Theoretical bases of communicative approaches to second language teaching and testing. Applied Linguistics, 1(1), 1-47.

Cameron, L. (2001). Teaching languages to young learners. Cambridge: Cambridge University Press.

Costley, K.C. (2015). Research supporting integrated curriculum: evidence for using this method of instruction in public school classrooms. Retrieved March 28, 2022, from https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED552916.pdf.

Kurt, S. (2018). ADDIE model: instructional design. Educational Technology. Retrieved September 7, 2018, from https://educationaltechnology.net/the-addie-model-instructional-design/

Nebraska Department of Education. (1993). The primary program: growing and learning in the Heartland. Retrieved March 28, 2022, from https://www.education.ne.gov/wpcontent/uploads/ 2017/07/IC.pdf

Steven, J. M. (2008). Instructional systems. College of Education, Penn State University.

Taba, H. (1962). Curriculum development: theory and practice. New York: Harcourt Brace and World.

Widdowson, H. G. (1980). Linguistics and Language Teaching. Oxford University Press.

Downloads

Published

2023-07-13