การจัดการเรียนรู้พลศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา หลังสภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019
Physical Education Learning Management in Secondary Schools after the Coronavirus 2019 Crisis
Keywords:
การจัดการเรียนรู้พลศึกษา, การแพร่ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19), Physical education learning management, Coronavirus 2019 crisisAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานภาพปัจจุบันและเปรียบเทียบของคุณลักษณะส่วนบุคคลกับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาหลังสภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัย 2 แนวทาง คือ แนวทางเชิงปริมาณโดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน ครูพลศึกษา และผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดเพชรบูรณ์ ปีการ ศึกษา 2565 จำนวน 499 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ อัตราส่วนร้อย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเทคนิคการวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว และแนวทางเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เจาะลึกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 18 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ATLAS.ti จากการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นนักเรียน เพศชาย มีอายุ 15-18 ปี มีความคิดเห็นว่าการจัดการเรียนรู้พลศึกษาหลังสภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ COVID-19 ทั้ง ด้านผู้บริหารและการบริหาร ด้านครูพลศึกษา ด้านนักเรียน ด้านสถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านการวัดและการประเมินผล อยู่ในระดับมาก โดย 1) ด้านผู้บริหารและการบริหาร ได้แก่ ส่งเสริมให้ครูพลศึกษาอบรมพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 2) ด้านครูพลศึกษา ได้แก่ ครูผู้สอนมีบุคลิกภาพที่ดีและมีความรับผิดชอบ 3) ด้านนักเรียน ได้แก่ การแต่งกายที่เหมาะสมกับการเรียนพลศึกษา 4) ด้านสถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ มีสนามกีฬากลางแจ้งที่เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนพลศึกษา และ 5) ด้านการวัดและการประเมินผล ได้แก่ มีระบบการสอบแก้ตัวของนักเรียนที่มีความถูกต้องและเหมาะสม นอกจากนั้น กลุ่มตัวอย่างที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคลที่มีอายุต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 This research aimed to investigate and compare personal characteristics and physical education learning management (PELM) in secondary schools after the coronavirus 2019 (COVID-19) crisis. The data collection utilized a mixed-methods research approach. Quantitative data was collected from 499 participants including students, physical education (PE) teachers and secondary school directors in Phetchabun Province during the academic year 2022. Statistical data analysis involved percentage, mean, standard deviation and one-way analysis of variance. Qualitative data was obtained through in-depth interviews with 18 participants and analyzed using ATLAS.ti software. The findings revealed that most participants were male students aged 15 to 18 years. PELM after the COVID-19 crisis was rated as high in 5 aspects: 1) Administrators and administration: encouraging PE teachers to attain training for continuous self-development, 2) PE teachers: demonstrating good personalities and a sense of responsibility, 3) Students: adhering to proper attire for PE classes, 4) Location and facilities: providing appropriate outdoor sports fields for PELM, and 5) Measurement and evaluation: operating a student revision system correctly and appropriately. In addition, the opinions of participants with different personal characteristics were different at a significance level of .05.References
กรมอนามัย. (2565). มาตรการเปิดเรียน On site ปลอดภัย อยู่ได้กับโควิด 19 ในสถานศึกษา. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2565 จาก https://stopcovid.anamai.moph.go.th/attach/w774/ f20220429113324_SPyd 5tkRsx.pdf.
ดิศพล บุปผาชาติ. (2562). การจัดการเรียนรู้พลศึกษาในโรงเรียน สำคัญอย่างไร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 17(1), 45-54.
นภาพรรณ ปิ่นทอง และ นัยนา บุพพวงษ์. (2565). การจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาของครูในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 4. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 13(1), 1-19.
พันธนีย์ ธิติชัย และ ภันทิลา ทวีวิกยการ. (2564). สถานการณ์โรคโควิด-19 และมาตรการควบคุมป้องกันในระดับโลกและในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กองระบาดวิทยาและกองโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2554). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ยุคใหม่. กรุงเทพฯ: สามลดา.
สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), 33-42.
Bradley, V. M. (2021). Learning Management System (LMS) use with online instruction. International Journal of Technology in Education (IJTE), 4(1), 68-92.
Khamidi, A., & Hartoto, S. (2022). Management physical education learning model in the era of the covid-19 pandemic: A literature review. Jurnal Penelitian Pembelajaran, 8(1), 96-117.
Larasati, A., Sulaiman, S., & Nasuka, N. (2021). Physical education teacher learning management during the covid19 pandemic at special school in Pekalongan residency in 2020. Journal of Physical Education and Sports, 10(2), 142-149.