การศึกษาการรับรู้ความสามารถของตนเองก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของนิสิตสาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

A Study of Self-Efficacy Prior to Teaching Experience Training among Students in Early Childhood Education at the Faculty of Education, Burapha University

Authors

  • ธนภร อินต๊ะสิน
  • ภัฐธีร์ตา วัฒนประดิษฐ์
  • ปวลี เสมอวงษ์
  • วรวรรณ ศรีสุทธินันทน์
  • พันทิวา ฐานคร

Keywords:

การศึกษาปฐมวัย, การรับรู้ความสามารถตนเอง, การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ, Early Childhood Education, Self-Efficacy, Teaching Experience Training

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของนิสิตสาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนิสิตสาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 4 (หลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี) ที่กำลังศึกษาในหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 3 ตอน ประกอบด้วย 1) สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม 2) แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเอง ทั้งหมด 3 ด้าน จำนวน 30 ข้อ  ได้แก่ ด้านความรู้ จำนวน 10 ข้อ  ด้านความพร้อม จำนวน 10 ข้อ  และด้านทักษะการสอน จำนวน 10 ข้อ และ 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนิสิตสาขาการศึกษาปฐมวัย เป็นคำถามปลายเปิด จำนวน 1 ข้อ  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์โดยสรุปประเด็น ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์ระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองสำหรับนิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พบว่านิสิตชั้นปีที่ 4 มีระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองในภาพรวม อยู่ในระดับสูง (µ = 3.60,  = 0.85) มีระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองในด้านความรู้ โดยรวมอยู่ในระดับสูง (µ = 3.52,  = 0.87) มีระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองในด้านความพร้อม โดยรวมอยู่ในระดับสูง (µ=3.71,  = 0.89) มีระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองในด้านทักษะการสอน โดยรวมอยู่ในระดับสูง (µ = 3.58,  = 0.79) 2. ผลการศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนิสิตสาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พบว่า นิสิตได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ คือนิสิตมีความกังวลใจเรื่องการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า ความคาดหวังผู้ปกครองของนักเรียนและแรงกดดันที่จะอาจพบเจอในโรงเรียน ความคิดสร้างสรรค์ในการจัดกิจกรรมและวิธีการสอน การจัดการชั้นเรียน การทำแผนการสอนให้สอดคล้องกับผู้เรียน การทำสื่อการสอน การวัดและประเมินผลนักเรียน การวางตัวให้เหมาะสม การปรับตัวกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ภายในโรงเรียน และการปรับตัวเข้ากับครูและนักเรียน ส่วนข้อเสนอแนะต่าง ๆ พบว่า นิสิตต้องการคำชี้แนะเพิ่มเติมจากอาจารย์ในสาขาการศึกษาปฐมวัยเพื่อเพิ่มพูนความรู้เรื่องวิธีรับมือกับนักเรียนและผู้ปกครอง วิธีการรับมือเมื่อเกิดสถานการณ์เฉพาะหน้าต่าง ๆ ในโรงเรียน วิธีการสร้างสรรค์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและเทคนิคการสอนต่าง ๆ วิธีการจัดการชั้นเรียน เทคนิคการพูดคุยกับเด็กปฐมวัย วิธีการสร้างความเชื่อมั่นในตนเองเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนออกฝึกสอนประสบการณ์วิชาชีพครู การทำแผนการสอนให้สอดคล้องกับผู้เรียน การทำสื่อการสอน การวัดและประเมินผลนักเรียน บุคลิกภาพที่เหมาะสมในสถานศึกษา การวางตนขณะปฏิบัติการสอนและการปฏิบัติตัวต่อหน้านักเรียน วิธีการปรับตัวให้เข้ากับครูและนักเรียนรวมถึงการปรับตัวในสถานการณ์ต่าง ๆ  The objectives of this research were to:1) investigate the level of self-efficacy among fourth-year students in the Bachelor of Education Program in Early Childhood Education at Burapha University prior to their professional teaching experience and 2) examine the problems and recommendations reported by these students prior to their teaching practice in the same program. The sample consisted of 28 fourth-year students enrolled in the Education Program in Early Childhood Education (5 years) offered by the Faculty of Education at Burapha University during the second semester of the 2021 academic year. The research employed a questionnaire comprising three sections, including 1) participant demographics, 2) self-efficacy questions comprising 30 items, addressing three aspects: knowledge (10 items), readiness (10 items), and teaching skills (10 items), and 3) one open-ended question regarding problems and recommendations before teaching practicum. The data were analyzed using mean, standard deviation, and analyzing issues. The findings of the study indicated the following: 1. The self-efficacy levels of fourth-year students in the Education Program in Early Childhood Education were at a high level (µ=3.60,  = 0.85). Specifically, self-efficacy levels related to knowledge were rated as high (µ=3.52,  = 0.87), readiness was rated as high (µ=3.71,  = 0.89), and teaching skills were rated as high (µ=3.58, s= .79). 2. Regarding the challenges and recommendations reported by the forth-year students prior to their teaching practicum, they expressed concerns about handling unexpected problems, meeting parental expectations and school pressures, fostering creativity in activity and teaching methods, managing the classroom, developing lesson plans tailored to learners' needs, preparing teaching materials, assessing and evaluating learner performance, demonstrating appropriate behavior, adapting to new environments in school, and interacting with teachers and learners. The participants also provided suggestions for receiving more guidance from instructors to enhance their knowledge and skills in dealing with students, parents, and school-related situations, as well as creative approaches to teaching and learning activities, classroom management, effective communication with young children, building self-confidence before student teaching, aligning lesson plans with learners' needs, preparing teaching materials, assessing and evaluating student performance, displaying appropriate professional behavior, and adapting to different teachers, students, and situations.

References

ธนา นิลชัยโกวิทย์ และคณะ. (2550). รายงานโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาชุดการเรียนรู้การอบรมและกระบวนการด้านจิตตปัญญาศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประกาศคุรุสภา เรื่อง การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพ. (2557, 14 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 156 ง. หน้า 16-19.

ปิยนันท์ สวัสดิ์ศฤงฆาร. (2560). การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2565 จาก https://drpiyanan.com/2017/06/25/article1-2/

วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2562). การพัฒนาผู้เรียนไปสู่ Great zone. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

สุริยเดว ทรีปาตี. ออนไลน์. ‘หมอสุริยเดว’ ชี้ทำร้ายเด็ก คือพฤติกรรมเลียบแบบ. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2565. จาก https://www.nationtv.tv/main/content/378799447

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: กลุ่มมาตรฐานการศึกษา สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อภิญญา อิงอาจ และชลธร อริยปิติพันธ์. (2553). การรับรู้ความสามารถของตนด้านการเรียน และความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย กรุงเทพ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 9(1), 30-43.

Bandura, A. (1997). Self- efficacy: The exercise of control. New York : W.H. Freeman and company.

Browder DM, Shapiro E.S. (1985). Applications of self-management to individuals with severe handicaps: A review. Journal of the Association for Persons with Severe Handicaps, (4), 200–208.

Evans, D. R. (1997). Health promotion, wellness programs, quality of life and the marketing of psychology. Canadian Psychology / Psychologie Canadienne, 38(1), 1–12.

Badalamenti, J. (2016). The 4 essential elements of passion-based learning. Retrieved from https://www.eschoolnews.com/2016/05/02/the-4-essential-elements-of-passion-based-learning/

Kanfer, F.H., & Gaelick-Bays, L. (1991). Self-management method. In F.H. Kanfer, & A. Goldstein (Eds.). Helping people change: A textbook of methods (305-360). New York: Pergamon Press.

Luthan, F. & Youssef, C.M. (2007). Emerging positive organizational behavior. Journal of Management, 33(5), 321-349.

Professional Learning Board. (n.d.). Passion-based learning. Retrieved from https://k12teacherstaffdevelopment.com/tlb/

Downloads

Published

2023-07-13