ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผล การบริหารงานวิชาการ โรงเรียนเอกชน อำเภอเมืองนครราชสีมา

Digital Leadership of School Administrators Affecting the Academic Administration Effectiveness in Private Schools, Muang Nakhon Ratchasima

Authors

  • สุนิสา ศรีสมภาร
  • โสภณ เพ็ชรพวง

Keywords:

ภาวะผู้นำดิจิทัล, ผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน, ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ, Digital Leadership, Private School Administrators, Academic Administration Effectiveness

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนอำเภอเมืองนครราชสีมา 2) ศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชน อำเภอเมืองนครราชสีมา และ 3) ศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ รงเรียนเอกชน อำเภอเมืองนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 269 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยใช้วิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ  0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ ได้แก่การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบหลายขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน อำเภอเมืองนครราชสีมาโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชน อำเภอเมืองนครราชสีมาโดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการหาค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวพยากรณ์ พบว่าการประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อดิจิทัล การรับรู้ทางวัฒนธรรมดิจิทัล กลยุทธ์การบริหารสื่อดิจิทัล และการสื่อสารดิจิทัล ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชน อำเภอเมืองนครราชสีมา ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชน ได้ร้อยละ 74.40  The purposes of this research were: 1) to examine the digital leadership of administrators in private schools in Muang Nakhon Ratchasima; 2) to assess the effectiveness of academic administration in these schools; and 3) to investigate how schools administrators’ digital leadership affecting the effectiveness of academic administration in the schools. The study involved a sample of 269 teachers from private schools in Muang District, Nakhon Ratchasima Province, selected through simple random sampling. A questionnaire was used as the research instrument, and its reliability was determined using Cronbach's Alpha Coefficient method, resulting in a confidence level of 0.99. Data were analyzed using basic statistics, including averages, standard deviations, and statistical tests, specifically stepwise multiple regression analysis. The findings were as follows: 1) The overall digital leadership of administrators in private schools in Muang Nakhon Ratchasima, is at a high level. 2) The overall effectiveness of academic administration in private schools in Muang Nakhon Ratchasima, is at a high level. 3) The analysis of data from the stepwise regression analysis showed that factors such as digital media public relations, perceptions of digital culture, strategic management of digital operations, and digital communication significantly affect the effectiveness of academic administration in private schools in Muang Nakhon Ratchasima respectively. These findings were statistically significant at the 0.05 level and collectively accounted for 74.40 percent of the variance in the effectiveness of academic administration in private schools.

References

กันตชาติ กุดนอก. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัฌฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.

จรุณี เก้าเอี้ยน. (2557). เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา กลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้บริหารมืออาชีพ. สงขลา : ชานเมืองการพิมพ์.

จิตรา แก้วมะ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.

เจษฎา ชวนะไพศาล. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตทวารวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ฉัตรชัย จันทา. (2563). การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดนครพนม (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.

ชาตรี มาประจง. (2557). การพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2555). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ :ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

รุจาภรณ์ ลักษณะดี. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตบ้านบึง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก, กรุงเทพฯ.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครราชสีมา. (2563). แผนพัฒนาการศึกษา (พ.ศ. 2562 – 2565) จังหวัดนครราชสีมา (ฉบับทบทวน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. นครราชสีมา: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครราชสีมา.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2560). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. พิษณุโลก: พิษณุโลกดอทคอม.

สุชญา โกมลวานิช. (2563). องค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. สืบค้นจาก https://app.gs.kku.ac.th.

อิทธิฤทธิ์ สิทธิ์ทองหลาง. (2565). 5 ทักษะที่คุณต้องปรับตัวในยุคดิจิทัล. สืบค้นจาก https://km.nida.ac.th/th.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล โครงการสานพลังประชารัฐ. สืบค้นจาก http://www.trueplookpanya.com.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2561). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. (School Management in Digital Era) โครงการสานพลังประชารัฐ. สืบค้นจาก http://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/52232.

Contributor. (2017). Skill in Digital Leadership. Retrieved from https://digitalmarketinginstitute. com/blog /03-04-18-the-most-indemand-skills-in-digital-leadership.

Cronbach, L. J. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw Hill.

Digital Marketing Institute. (2018). The Most In-Demand Skills in Digital Leadership. Retrieved from https://digitalmarketinginstitute.com/blog/03-04-18-the-most-indemand-skills-in-digital-leadership.

Gorton, C. & Gorton, B. (2018). 6 Characteristics of Digital Leadership. Retrieved from https://digileaders.com/6-characteristics-digital-leadership/.

Kane, D. (2017). Do you have a Band?: Poetry and Punk Rock in New York City. New York: Columbia University Press.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Sullivan, L. (2017). 8 Skills Every Digital Leader Needs. Retrieved from https://www.cmswire.com/ digital-workplace/8-skills-every-digital-leader-needs/.

Taba, H. (1962). Curriculum Development Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace and World.

Downloads

Published

2023-10-05