ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแนวคิดสะเต็มศึกษา ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

The Effects of Inquiry Learning Method (5E) with STEM Education Approach on Learning Achievement and Problem-Solving Ability of Sixth-Grade Students

Authors

  • นิชนันท์ คำตา
  • กิตติมา พันธ์พฤกษา
  • ธนาวุฒิ ลาตวงษ์

Keywords:

การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E), แนวคิดสะเต็มศึกษา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหา, Inquiry Learning Method (5E), STEM Education, Learning Achievement, Problem Solving Ability

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแนวคิดสะเต็มศึกษา ก่อนเรียนและหลังเรียน และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแนวคิดสะเต็มศึกษา หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 39 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแนวคิดสะเต็มศึกษา จำนวน 3 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 3) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.74 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มเดียว ผลการวิจัยพบว่า  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแนวคิดสะเต็มศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแนวคิดสะเต็มศึกษา หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  The purposes of this research were to: compare learning achievements and problem-solving ability of students before and after learning through Inquiry Learning Method (5E) with a STEM Education approach; and to compare learning achievement and problem-solving ability of students after learning through this intervention against 70 percent criteria. The study involved 39 sixth-grade students in the second semester of the 2021 academic year, selected through random cluster sampling. The research instruments included 1) Three lesson plans using Inquiry Learning Method (5E) with STEM Education approach, 2) A learning achievement test comprising 20 multiple-choice questions (rcc = 0.88), and 3) A problem-solving ability test consisting of 20 multiple-choice questions (rcc= 0.74). The data were analyzed using mean, standard deviation, t-test for dependent samples, and t-test for one sample. The research findings were summarized as follows: 1) The posttest mean scores of students’ learning achievement and problem-solving ability after learning with Inquiry Learning Method (5E) with STEM Education were statistically significantly higher than pretest mean scores at the .05 level. 2) The posttest means scores of students’ learning achievement and problem-solving ability after learning with Inquiry Learning Method (5E) with STEM Education were statistically significantly higher than the prescribed 70 percent criteria at the .05 level.  

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

กิตติชัย สุธาสิโนบล. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนววิธีพุทธสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลนครนายก. วารสารวิชาการศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 10(1), 39-45.

ช่อทิพย์ มารัตนะ. (2560). การศึกษาผลการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ วัสดุและสมบัติของวัสดุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, นครราชสีมา.

ดารารัตน์ ชัยพิลา. (2558). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนวคิด STEM Education ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่องปฏิกิริยาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

นาตยา ปิลันธนานนท์, สมถวิล ธนะโสภณ และมธุรส จงชัยกิจ. (2553). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการคิดขั้นสูงสำหรับครูเพื่อเพิ่มศักยภาพในการสอนคิดวิเคราะห์แก่ผู้เรียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(4), 7-14.

พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร, 2(2), 49-56.

พรสวัสดิ์ สองแคว. (2559). การศึกษาผลการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง “รู้รักษ์หิน ถิ่นแม่ฮ่องสอน” ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

พิชญ์สินี ชมพูคา. (2554). การจัดการเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการเรียนรู้ตลอดชีวิต: สิ่งจำเป็นในการจัดการศึกษาไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://www.phichsinee.cmru.ac.th/file/newsfile/220710123109.pdf.

พิมพันธ์ เตชะคุปต์. (2545). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป.

รักษพล ธนานุวงศ์. (2556). เรียนรู้สภาวะโลกร้อนด้วย STEM Education แบบบูรณาการ. นิตยสาร สสวท, 41(182), 15-20.

รุ่งนภา ทัดท่าทราย. (2549). ไขปริศนาแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยจิตสำนึกความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. วารสารวิทยาศาสตร์, 59(4), 293-294

วรรณา รุ่งลักษะมีศรี. (2551). ผลของการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรมที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงวิทยาศาสตร์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสาธิต (วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ องค์การมหาชน. (2561-2563). สรุปผลวิเคราะห์ความสามารถของนักเรียน ป.6, ม.3, ม.6 จากคะแนน O-NET, สืบค้นจาก http://www.nietes.or.th

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558). คู่มือจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564).

สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2557). สะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. นิตยสาร สสวท, 42(186), 3-5.

สุวิทย์ มูลคำ. (2551). ครบเครื่องเรื่องการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์

อภิญญา สิงโต. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(7), 387-398.

Chung, C. J., Cartwright, C. & Cole, M. (2014). Assessing the Impact of an Autonomous Robotics Competition for STEM Education. Journal of STEM Education, 15(2), 24-29.

Cox, C., Reynolds, B., Schunn, C. & Schuchardt, A. (2016). Mathematics and Engineering to Solve Problems in Secondary Level Biology. Journal of STEM Education, 17(1), 22-30.

Diana, L.R. (2012). Integrated STEM Education through Project-based Learning. Retrieved from http://www.rondout.k12.ny.us/common/pages/DisplayFile.aspx?itemId=16466975

Weir, J. J. (1974). Problem Solving is Every body’s Problem. The Science Teacher, 4, 16-18.

Downloads

Published

2023-10-05