ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐาน ที่มีต่อการคิดเชิงวิพากษ์และการคิดแก้ปัญหา ในรายวิชาชีววิทยาเรื่อง เซลล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

The Effects of Problem-Based Learning on Critical Thinking and Problem Solving Thinking in Biology on the Topic of Cells for 10th-Grade Students

Authors

  • กลวัชร อุปถัมภ์
  • นพมณี เชื้อวัชรินทร์
  • ศรัณย์ ภิบาลชนม์

Keywords:

การจัดการเรียนรู้รูปแบบปัญหาเป็นฐาน, การคิดเชิงวิพากษ์, การคิดแก้ปัญหา, วิจัยเชิงปฏิบัติการ, Problem-Based Learning, Critical Thinking, Problem-Solving Thinking, Action Research

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการคิดเชิงวิพากษ์และการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้รูปแบบปัญหาเป็นฐาน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ วางแผน (Plan) ปฏิบัติตามแผน (Act) สังเกตผลจากการปฏิบัติ (Observe) สะท้อนผลการปฏิบัติ (Reflect) โดยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี จำนวน 33 คน เป็นห้องเรียนโครงการส่งเสริมความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานรายวิชาชีววิทยา เรื่อง เซลล์ จำนวน 3 แผน แบบทดสอบวัดการคิดเชิงวิพากษ์ แบบทดสอบวัดการคิดแก้ปัญหา และแบบทดสอบท้ายวงจร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ด้านการคิดเชิงวิพากษ์ภายหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 43.28 อยู่ในเกณฑ์พัฒนาการด้านการคิดเชิงวิพากษ์ระดับกลาง และคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ด้านการคิดแก้ปัญหาภายหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 41.92 อยู่ในเกณฑ์พัฒนาการด้านการคิดแก้ปัญหาระดับกลาง  The objectives of this research were to investigate the effects of critical thinking and problem-solving thinking of 10th-grade students who learned through a problem-based learning model. The research employed a classroom action research design, following a four-step approach: Plan, Act, Observe, and Reflect (PAOR cycle). The target group were 33 tenth-grade students who studied in a special scientific course at Singsamut School, Chonburi Province, during the first semester of the 2022 academic year. The research instruments included three lesson plans using problem-based learning in the subject of Biology, specifically on the topic of Cells, a critical thinking test, a problem-solving thinking test, and end-of-cycle test. The data were analyzed by percentage, arithmetic mean, standard deviation, and relative gain scores. The research findings showed that after participating in problem-based learning, the students demonstrated a relative gain score of 43.28% in critical thinking, indicating a moderate level of development. Similarly, the development score for problem-solving thinking after the same intervention was 41.92%, also indicating moderate development.

References

กมลพร ทองธิยะ. (2564). การพัฒนาการคิดขั้นสูง : ความสามารถทางสติปัญญาที่สำคัญในโลกยุค New Normal. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(2), 28-44.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กุลจิรา ทะนงศิลป์. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานเรื่องชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 ในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษจังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี

จริยา กำลังมาก. (2558). การศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยาเรื่องระบบต่อมไร้ท่อ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิคการแบ่งกลุ่มแบบกลุ่มสัมฤทธิ์. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 11(1), 71-82.

เจษฎายุทธ ไกรกลาง. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานต่อการส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ฐิติวรรณ พิมพ์เทศ. (2560). การส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเว็บสนับสนุนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ณชานันท์ ประเสริฐสุข. (2559). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

ธีระพงษ์ สุขสกล. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง สมการเชิงเส้นสองตัวแปร (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี, จันทบุรี.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2560). วิจัยการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทราวดี มากมี. (2554). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย, 1(1), 7-14.

วาสนา ภูมี. (2555). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning) เรื่อง “อัตราส่วนและร้อยละ” ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบมาตรฐานเดิม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สหพงศ จั่นศิริ. (2562). การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน ในรายวิชาหลักการจัดการฟาร์ม สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560ก). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550ข). แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. สืบค้นจาก http://www.onec.go.th/index.php/book/ BookView/362.

สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์. (2560). ทิศทางการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts), 10(2), 2843-2854.

เหงียน ถิ ทู ฮ่า, และ สิรินาถ จงกลกลาง. (2561). การศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 14-24.

อรมนัส วงศ์ไทย. (2562). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

Watson, G., & Glaser, E.M. (1964). Watson-Glaser Critical Thinking Appraisal Manual. New York: Harcourt Brace and World.

Weir, J. J. (1974). Problem Solving is Everybody’s Problem. The Science Teacher, 41(4), 16-18.

Downloads

Published

2023-10-05