การศึกษาองค์ประกอบการพัฒนาครูแนะแนว เพื่อส่งเสริมการศึกษาต่อของผู้เรียนในระดับอาชีวศึกษา

The Study of the Components of Guidance Teacher Development to Promote Further Education of Learners at the Vocational Level

Authors

  • ศุภมิตร ศิรกัณฑะมากุล
  • รินรดี ปาปะใน
  • อัคครัตน์ พูลกระจ่าง

Keywords:

การพัฒนาครูแนะแนว, การส่งเสริมการศึกษาต่อ, ระดับอาชีวศึกษา, Guidance Teachers Development, Promoting Vocational Education, Vocational Education

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบการพัฒนาครูแนะแนวเพื่อส่งเสริมการศึกษาต่อของผู้เรียนในระดับอาชีวศึกษา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูแนะแนวในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 30 คน โดยใช้เกณฑ์มีคุณวุฒิระดับปริญญาโทและมีประสบการณ์ด้านการสอนแนะแนว 10 ปีขึ้นไป เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามองค์ประกอบการพัฒนาครูแนะแนวเพื่อส่งเสริมการศึกษาต่อของผู้เรียนในระดับอาชีวศึกษา จำนวน 4 ด้าน รวม 11 ข้อ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.79 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (average) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของการพัฒนาครูแนะแนวเพื่อส่งเสริมการศึกษาต่อของผู้เรียนในระดับอาชีวศึกษา มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้าน Pre-Activity สำรวจความต้องการพัฒนาครูแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการตัดสินใจศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษา 2) องค์ประกอบด้าน Activities การพัฒนาสมรรถนะครูแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการตัดสินใจศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษา 3) องค์ประกอบด้าน Result ผลที่ได้จากการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อเสริมสร้างการตัดสินใจศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษาผ่านกระบวนการฝึกอบรมของครูแนะแนว และ 4) องค์ประกอบด้าน Outcome ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนหลังจากครูจัดกิจกรรมเสริมสร้างการตัดสินใจศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษา และองค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาครูแนะแนวเพื่อส่งเสริมการศึกษาต่อของผู้เรียนในระดับอาชีวศึกษาในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.65, S.D.=0.72) ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของการพัฒนาครูแนะแนวเพื่อส่งเสริมการศึกษาต่อของผู้เรียนในระดับอาชีวศึกษา มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้าน Pre-Activity สำรวจความต้องการพัฒนาครูแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการตัดสินใจศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษา 2) องค์ประกอบด้าน Activities การพัฒนาสมรรถนะครูแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการตัดสินใจศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษา 3) องค์ประกอบด้าน Result ผลที่ได้จากการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อเสริมสร้างการตัดสินใจศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษาผ่านกระบวนการฝึกอบรมของครูแนะแนว และ 4) องค์ประกอบด้าน Outcome ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนหลังจากครูจัดกิจกรรมเสริมสร้างการตัดสินใจศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษา และองค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาครูแนะแนวเพื่อส่งเสริมการศึกษาต่อของผู้เรียนในระดับอาชีวศึกษาในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.65, S.D.=0.72)  The objectives of this research were to examine the components of guidance teacher development to promote further education for learners in the field of vocational education. The target groups consisted of school guidance teachers affiliated with both the Office of the Basic Education Commission and the Office of the Private Education Commission in Samut Prakan Province. The research sample comprised 30 individuals who met specific criteria: possession of a master's degree and over ten years of experience in teaching guidance. The instrument used was a questionnaire on the components of guidance teacher development to promote further education of learners at the vocational level, consisting of four aspects with a total of 11 items. The reliability of the questionnaire was confirmed with a Cronbach's Alpha Coefficient of 0.79. Data were analyzed using mean (average) and standard deviation (S.D.). The findings revealed that the components of guidance teacher development aimed at promoting further education in vocational education consisted of four main components: 1) Pre-Activity component, surveying the need for guidance teacher development to reinforce the decision to pursue further vocational education; 2) Activities component, the development of the guidance teachers' competencies to reinforce decision-making in further vocational education; 3) Result component, the results from the development of teacher competencies to enhance decision-making in further vocational education through the guidance teacher's training processes; and 4) Outcome component, the outcomes experienced by learners after guidance teachers organized activities to reinforce the decision to pursue education at the vocational level. Overall, the components of the guidance teacher development model to promote further education of vocational learners at were appropriate at the highest level (average = 4.65, S.D.=0.72).

References

แก้วขวัญ ตั้งติพงศ์กูล.(2555). วิกฤติแรงงานไทย. เศรษฐ’ ธรรมศาสตร์, 4(13), 258 - 280.

ณัฐสิฏ รักษ์เกียรติวงศ์. (2564). การปฏิรูปอาชีวศึกษาของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ).

ธันว์รัชต์ สินธนะกุล. (2557). การพัฒนาระบบสนับสนุนการแนะแนวการศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ประกาศนียบัตรวิชาชีพ โดยอาศัยแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเหมืองข้อมูลร่วมกับ พหุปัญญาของนักเรียน (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2557). การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล. กรุงเทพฯ: สุรีวิริยาสาส์น.

ปกป้อง จันวิทย์ และศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์. (2564). ปัญหาของระบบอาชีวศึกษาไทย. สืบค้นจาก http://pokpong.org/writing/vocational-education/

เป็นไท เทวินทร์. (2557). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะการตัดสินใจเลือกแนวทางการศึกษาต่อของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสันป่าสัก จังหวัดเชียงใหม่. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 6(2), 272 - 283.

พีระวัตร จันทกูล. (2559). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนรู่ในศตวรรษที่ 21 (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

เมธีศิน สมอุ่มจารย์. (2556). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูช่างอุตสาหกรรมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

วรรณศา ปลอดโปร่ง. (2555). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเอง ในการเลือกแผนการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

วสันต์ ปานทอง. (2556). รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อศิษย์ในสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

สมคิด ก่อมณี. (2560). การพัฒนากระบวนการตัดสินใจเลือกแผนการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) โดยใช้กิจกรรมแนะแนว. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 18(2), 258 - 280.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการการศึกษา.

สุนิสา วงศ์อารีย์. (2559). หลักการแนะแนว. อุดรธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สุรชัย เทียนขาว. (2562). การผลิตกำลังคนอาชีวศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศต้อง Demand Side.สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/article/news_1585348

Gibbons, S. (2016). Design Thinking 101. Retrieved from https://www.nngroup.com/articles/design-thinking

Willer, D. (1986). Scientific Sociology Theory and Method. New Jersey: Prentice-Hill.

Downloads

Published

2023-10-05