การพัฒนาห้องสมุดที่เหมาะสมกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
The Development of a Library for Learning Context of Early Childhood
Keywords:
ห้องสมุด, การเรียนรู้, ปฐมวัย, Library, Learning, Early ChildhoodAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างห้องสมุดที่เหมาะสมกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย 2) ศึกษาผลการจัดประสบการณ์ในห้องสมุดที่เหมาะสมกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นเด็กนักเรียน ชาย – หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาลวัดเนินสุทธาวาส (สุทธิพงษ์ประชานุกูล) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองชลบุรี จำนวน 1 ห้อง รวม 18 คน ระยะเวลาในการทดลองจำนวน 8 สัปดาห์ ๆ ละ 5 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 40 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดประสบการณ์ แบบทดสอบความสามารถในการอ่านของเด็กปฐมวัย และแบบสังเกตพฤติกรรมการใช้ห้องสมุดของเด็กปฐมวัย การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest-posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ห้องสมุดที่เหมาะสมกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย มีองค์ประกอบ 5 ประการ ได้แก่ (1) วรรณกรรมสำหรับเด็ก (2) บรรยากาศส่งเสริมการอ่าน (3) สื่อภาษา (4) กิจกรรมการอ่าน และ (5) กิจกรรมประกอบการอ่าน โดยมีกระบวนการจัดประสบการณ์ในห้องสมุด 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ขั้นเรียนรู้วรรณกรรม ระยะที่ 2 ขั้นสร้างประสบการณ์อ่าน และระยะที่ 3 ขั้นทบทวนและนำเสนอ 2. ผลการจัดประสบการณ์ในห้องสมุด พบว่า หลังการทดลองเด็กปฐมวัยมีคะแนนความสามารถในการอ่านและคะแนนพฤติกรรมการใช้ห้องสมุด สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และลักษณะผลงานของเด็กขณะเรียนรู้ ประกอบด้วย งานเขียน งานกระดาษ งานปั้น The purposes of this research were to 1) develop a library for learning context of early childhood and 2) assess the effectiveness of providing learning experiences for early childhood at the library. The research sample consisted of 18 boys and girls, aged 5 to 6 years, who attended Watnernsutthawas Municipality School (Suttipongprachanukul) in Chonburi Town Municipality during the second semester of the 2020 academic year. The experiment was conducted over a span of 8 weeks, with sessions held 5 days a week, totaling 40 sessions. The research instruments included lesson plans, tests assessing the reading abilities of early childhood learners, and an observation form for monitoring their library usage behavior. This study utilized a One Group Pretest-Posttest Design and analyzed the data using mean and standard deviation. The research findings were as follows: 1. A library suitable for early childhood learning consists of five components: (1) children's literature, (2) reading atmosphere, (3) language material, (4) reading activities, and (5) supplementary reading activities. The organization of learning experience at the library were divided into three phases: phase 1, literature learning; phase 2, creating reading experiences; and phase 3, reviewing and presenting. 2. The results of learning experiences at the library showed that early childhood learners’ reading abilities and their library usage behavior were higher than before the experiment. The children’s works during the learning process included writing, paper-based and molding activities.References
กฤษณะ อ่อนแก้ว, นิชาภา พรมยอด, ธฤต ศรนิรันดร์, และ เยาวลักษณ์ สุวรรณแข. (2565). การศึกษาสภาพปัญหาและการพัฒนาห้องสมุดสำหรับเด็กปฐมวัยในโรงเรียนบ้านท่านุ่น จังหวัดกระบี่. วารสารสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, 15(1), 33-44.
กุหลาบ ปั้นลายนาค. (2545). การปฏิบัติงานในห้องสมุดโรงเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
จารุทัศน์ วงศ์ข้าหลวง. (2557). การพัฒนารูปแบบ READ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเริ่มแรกของเด็ก วัยเตาะแตะ (ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธันยา พิทธยาพิทักษ์. (2563). หนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย. เอกสารการสอนชุดวิชา การพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านภาษา หน่วยที่ 5. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เบญจา แสงมลิ. (2556). สื่อเพื่อจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย (1). เอกสารการสอน ชุดวิชาสื่อการสอนระดับปฐมวัยศึกษา หน่วยที่ 9. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ราศี ทองสวัสดิ์. (2556). การจัดประสบการณ์เพื่อฝึกทักษะทางภาษาแก่เด็กปฐมวัย. เอกสารการสอนชุดวิชา การสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตระดับปฐมวัยศึกษา หน่วยที่ 4. นนทบุรีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วรนาท รักสกุลไทย, และนฤมล เนียมหอม. (2555). การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย. ประมวลสาระชุดวิชา การจัดประสบการณ์สาหรับเด็กปฐมวัย หน่วยที่ 3 (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วัฒนา มัคคสมัน. (2560). นวัตกรรมการเรียนรู้ด้านการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย. เอกสารการสอน ชุดวิชา พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย หน่วยที่ 13 (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิมล ตันติอภิวัฒน์, และวรวรรณ เหมชะญาติ. (2562) การจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับเด็กอายุ 3 ถึง 6 ปี ในห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้กรุงเทพมหานคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 14(2), 1-10.
สถาบันราชานุกูล. (2557). การเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานด้านการอ่านในเด็กปฐมวัย (Pre-reading skills). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย. (2556). โครงการพัฒนาองค์ความรู้ห้องสมุดและวิชาชีพบรรณารักษ์ แนวปฏิบัติที่ดีสำหรับห้องสมุด. กรุงเทพฯ : สมาคมฯ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สุขุม เฉลยทรัพย์. (2553). รูปแบบการส่งเสริมการอ่านของเด็กปฐมวัยในทรรศนะของครูและผู้ปกครอง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์ และ ธิดา พิทักษ์สินสุข. (2543). การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทยตามแนวคิด เรกจิโอเอมีเลีย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
Edwards, C., Gandini, L., & Forman, G. (1998). The Hundred Languages of Children. London: Ablex Publishing Corporation.
Gower, S., Loewecke, A., & Beal, A. (2023). 5 Tips for Planning Early Literacy Library Spaces. Retrieved from http://www.demcointeriors.com/blog/5-tips-early-literacy-library-spaces/