ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้คำถามระดับสูงที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

The Impact of Problem-Based Learning Management with Higher–Order Questions on Mathematical Problem Solving Ability and Mathematical Learning Achievement of Grade 6 Students

Authors

  • ณัฐพล เจนการ
  • ขณิชถา พรหมเหลือง
  • พรรณทิพา ตันตินัย

Keywords:

การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, คำถามระดับสูง, การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์, Problem-based learning management (PBL), High-order questions, Mathematical problems solving, Mathematical learning achievement

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูงกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ใช้การวิจัยแบบ One – group posttest - only design กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนบ้านดอนไผ่ จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 21 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้คำถามระดับสูง จำนวน 7 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.56 - 0.70 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.40 - 0.50 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 และ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.40 - 0.75 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.30 - 0.80 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test for one sample ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูง สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05  และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนการรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูง สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05  The purpose of this research was to compare the mathematical problem-solving ability and mathematical learning achievement of grade 6 students after receiving the problem-based learning management (PBL) and high-order questions with 70 percent criteria. The research design employed a one-group posttest-only design. The sample in this research consisted of 21 grade 6 students from the second semester of the 2019 academic year at Bandonphai School, Samutsongkhram Province. They were randomly selected by using cluster random sampling. The instruments used in the study included: 1) seven lesson plans; 2) a mathematical problem-solving ability test with a reliability coefficient of 0.93, a difficulty value between 0.56 - 0.70 and a discriminatory value between 0.40 - 0.50; and 3) a mathematical learning achievement test with a reliability coefficient of 0.89, a difficulty value between 0.40 - 0.75 and a discriminatory value is between 0.30 - 0.80. The data were analyzed using mean, standard deviation, and a one-sample t-test. The findings revealed: 1) The mathematical problem-solving ability of grade 6 students after receiving the problem-based learning management (PBL) with high-order questions was higher than the 70 percent criterion at a significant level of .05. 2) The mathematical learning achievement of grade 6 students after receiving the problem-based learning management (PBL) with high-order questions was higher than the 70 percent criterion at a significance level of .05.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กัญจน์วิภา ใบกุหลาบ. (2562). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการ ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, ปทุมธานี.

ขจรศักดิ์ จ่าไทยสงค์ และคณะ. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ โดยการใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, กำแพงเพชร.

จิราภา ปั้นทอง. (2563). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบค้นพบร่วมกับคำถามระดับสูงที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิด: ทฤษฎีและการนำไปใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์ (1991) จำกัด.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). เทคนิคการใช้คำถาม พัฒนาการคิด. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง.

ธนวรรณ นัยเนตร. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับคำถามระดับสูงที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชัน ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ปรีชา เนาว์เย็นผล. (2538). การพัฒนาทักษะการคิดคำนวณของผู้เรียนระดับประถมศึกษาสมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรชนก จันพลโท. (2563). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 31(2), 38-51.

มัณฑรา ธรรมบุศย์. (2549). “การส่งเสริมกระบวนการคิดโดยใช้ยุทธศาสตร์ PBL (Problem Based Learning)” วารสารวิทยาจารย์, 10(5), 42-45.

วาสนา ภูมี. (2555). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem – Based Learning) เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2555). ครบเครื่องเรื่องควรรู้สำหรับครูคณิตศาสตร์: หลักสูตรการสอนและการวิจัย. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

สมนึก ภัททิยธนี. (2551). การวัดผลการศึกษา.กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สุลัดดา ลอยฟ้า. (2538). การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อันนา วงศ์พัฒนกิจ. (2565). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่อง หลักการนับเบื้องต้น สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีการสอนแบบเปิดร่วมกับการใช้คำถามระดับสูง (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

อัมพร ม้าคนอง. (2552). การพัฒนามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ โดยใช้โมเดลการได้มาซึ่งมโนทัศน์และคำถามระดับสูง. : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; กรุงเทพฯ.

อัมพร ม้าคนอง. (2556). “หน่วยที่ 10 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ใช้ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์” ประมวลสาระชุดวิชา สารัตถะและวิทยวิธีทางคณิตศาสตร์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อัมพร ม้าคนอง. (2553). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Akinoglu, O., & Tandogan, R. O. (2007). The effects of problem-based active learning in science education on students’ academic achievement, attitude and concept learning. Eurasia Journal of Mathematics, Science & Technology Education, 3(1).

Beringer,. (2007). Application of problem-based learning through research investigation. Journal of Geography in Higher Education, 31(3), 445-447.

Cakir, O. S., & Tekkaya, C. (1999). Problem based learning and its application into science education. Hacettepe Universitesity, 15(1), 137-144.

Edens, K. M. (2000). Preparing problem solvers for the 21st century through problem-based learning. College Teaching, 48(2), 55 – 56.

Jeffrey, W. W. (2001). Higher order teacher questioning of boys and girls in elementary mathematics class. Journal for Research in Mathematics Education, 95(2), 84-92.

Walton, H.J.; & Matthews, M.B. (1998). Essentials of problem-solving process to improve problem-solving performance. Mathematics Teacher, 93(3), 185-187.

Downloads

Published

2024-01-05