การประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
An Assessment of the Bachelor of Education Program in Industrial Technology Education, Faculty of Education, Burapha University
Keywords:
การประเมินหลักสูตร, เทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา, หลักสูตรการศึกษาบัณฑิตAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนิสิตและบัณฑิตที่มีต่อหลักสูตรการศึกษา บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและสถาน ประกอบการเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ผู้สอน และอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีต่อหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา ตามรูปแบบซิบป์ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงประเมิน เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน 2) อาจารย์ประจำหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชา เทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 5 คน 3) อาจารย์ผู้สอนในหลักสูตร การศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 5 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1) นิสิตที่กำลังศึกษาในหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชา เทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 50 คน 2) บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา ในหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 50 คน และ 3) ผู้บริหารสถานศึกษาและสถานประกอบ การที่มีบัณฑิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษาทำงานอยู่ จำนวน 5 คน โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับ หลักสูตรการศึกษาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษาเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า 1. ความคิดเห็นของนิสิตและบัณฑิตที่มีต่อหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ศึกษาในภาพรวมทั้งหมดมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.13, SD = 0.49) 2. ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและสถานประกอบการที่มีบัณฑิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษาทำงานอยู่ในภาพรวมทั้งหมดมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ (ค่าเฉลี่ย = 4.41, SD = 0.52) 3. ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอนที่มีต่อหลักสูตรการศึกษา บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา เห็นว่า ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร มีความสอดคล้อง มีความชัดเจน มีความเหมาะสม และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง แต่ควรปรับลดขั้นตอนการเทียบโอนหน่วยกิต หรือ ปรับเป็นหลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี ควรมีการจัดหาเอกสาร ตำรา หนังสือ และสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะสื่อออนไลน์เพื่อใช้ในการเรียนการสอนเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษาเพิ่มขึ้น และในภาพรวมของคุณภาพนิสิตส่วนใหญ่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร แต่ควรส่งเสริมให้นิสิตมีศักยภาพมากขึ้นในด้านความมีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ ความสามารถในการด้านสื่อสารภาษาต่างประเทศ และการบริหารจัดการเวลา The purposes of this study were to 1) study the current students and the graduates’ opinions towards the Bachelor of Education (B.Ed.) program in industrial technology education, 2) study opinions of the school administrators and the corporate related to the Bachelor of Education (B.Ed.) program in industrial technology education, and 3) investigate opinions of the experts, the lecturers, and the program committee member towards the Bachelor of Education (B.Ed.) program in industrial technology education based on the CIPP Model. The study employed an evaluation research approach, collecting the data form the population used in this research including 1) three experts, 2) five committee members in the Bachelor of Education (B.Ed.) program in industrial technology education, Faculty of Education, Burapha University, 3) five lecturers in the Bachelor of Education (B.Ed.) program in industrial technology education, Faculty of Education, Burapha University. The sample groups used in this study were: 1) fifty students who are studying in the B.Ed. program in Industrial Technology Education, Faculty of Education, Burapha University, 2) fifty graduates from the B.Ed. program in Industrial Technology Education Faculty of Education, Burapha University, and 3) five school administrators and corporate that the graduates from the Bachelor of Education (B.Ed.) program in industrial technology education have been working with. The research instruments were questionnaires and construct interviews related to the Bachelor of Education (B.Ed.) program in industrial technology education. The research findings were summarized as follows: 1. Overall the current students and the graduates’ opinions towards the Bachelor of Education (B.Ed.) program in Industrial Technology Education were appropriate at the high level (average = 4.13, SD = 0.49) 2. Overall school administrators and corporate’ opinion towards graduates from the Bachelor of Education (B.Ed.) program in industrial technology education who have been working with were appropriate at the high level (average = 4.41, SD = 0.52) 3. Three experts, five program committee members, and five lecturers’ opinion towards Bachelor of Education (B.Ed.) program in industrial technology that the philosophy of the program and objectives of the program were clear, appropriate, and applicable. However, the process of transferring credits should be reduced or improved the curriculum into the continuing two-year program. Moreover, documents, textbooks, books, and other media should be provided, especially online media to be used more in Industrial Technology Education. Overall the quality of students from the B.Ed. program in Industrial Technology Education met objective of the program. However, disciplines, responsibility, ability to communicate in foreign languages, and time management should be promoted more for the students.References
ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2539). การพัฒนาหลักสูตร: หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อลีนเพรส
ทิศนา แขมมณี. (2535). หลักการและรูปแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บุญชม ศรีสะอาด. (2545.) การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์
บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์
มารุต พัฒผล. (2556). การประเมินหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้และการพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2537). กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการสอน : ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สุวีริยสาส์น.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : อาร์ แอนด์ ปริ้น จำกัด
เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2558). การประเมินหลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์. ชลบุรี : ภาควิชาการจัดการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2559). การประเมินหลักสูตร : หลักการและแนวปฏิบัติ. [Online] Retrieve from http://www.edu.tsu.ac.th/major/eva/filejournal/scan1.pdf
สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์ และชนาสร นิ่มนวล. (2559). การประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการสอนภาษาจีน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี: ภาควิชาการจัดการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
Stufflebeam, D. L., et al. (1971). Educational Evaluation and Decision Making. Itasca, Illinois: Peacock Publishing.
Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt Brace Jobanovich.
Tyler, R. W. (1970). Basic principle of curriculum and instruction. Chicago: University of Chicago Press.