การศึกษาความเครียดและการปรับตัวของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยบูรพา

Stress and Adaptation of the First Year Undergraduate Students of Burapha University

Authors

  • เกศรา น้อยมานพ
  • จตุพร นามเย็น
  • ทรงศรี สารภูษิต
  • นฤมล เสงี่ยม
  • สมภพ จันทร์เงิน

Keywords:

ความเครียด, การปรับตัว , นิสิตชั้นปีที่ 1

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาระดับความเครียดและการปรับตัวของนิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยบูรพา 2) เพื่อเปรียบเทียบความเครียดและการปรับตัวของนิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยบูรพา โดยจำแนกตามเพศ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยบูรพา มีทั้งหมด 5,834 คน ใช้การสุ่มอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่าง ได้จำนวน 579 คน การวิเคราะห์ ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ t-test โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า ความเครียดของนิสิตชั้นปีที่ 1 อยู่ในระดับสูง การเปรียบเทียบความเครียดโดยจำแนกตามเพศพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การปรับตัวของ นิสิตชั้นปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ย (average) เท่ากับ 36.28 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 6.13 และการเปรียบเทียบ การปรับตัวของนิสิตชั้นปีที่ 1 โดยจำแนกตามเพศ พบว่า นิสิตชายและนิสิตหญิงมีการปรับตัวด้านการเรียนการสอน ด้านความสัมพันธ์ และด้านสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านกิจกรรมไม่แตกต่างกัน ความเครียดของนิสิตชายและนิสิตหญิงไม่แตกต่างกัน  The purposes of this research were 1) to study the level of stress and adaptation of the first year undergraduate students of Burapha University, and 2) to compare the stress and adaptation of the first year undergraduate students of Burapha University by gender. The population in this research were 5,834 first year undergraduate students of Burapha University, selected by simple random sampling. After the simple random sampling, it came up with a total of 579 people as a sample of this research. The statistical data analysis was percentage, mean, standard deviation and t-test. The research result revealed that the stress of the first year undergraduate students was at a moderate level. The comparison of the stress by gender had statistical significant difference at .05 level. The adaption of the first year undergraduate students was at (average) = 36.28, SD = 6.13. The comparison of adaptation of the first year undergraduate students by gender found that both male and female students capable for the adaptation in their studies, relationship, and environment had statistical significant difference at .05 level. For the activity had no difference. The stress had no difference.

References

กรมสุขภาพจิต. (2555). คู่มือคลายเครียด ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.

จุฑามาศ แหนจอน. (2561). อารมณ์และการจัดการความเครียด (พิมพ์ครั้งที่ 3). ชลบุรี: เก็ดกูดครีเอชั่น. จุฑารัตน์ สถิรปัญญา และวิทยา เหมพันธ์. (2556). ความเครียดของนักศึกษามหาวิทยาลัย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 1(1), 42-58.

นันทิชา บุญละเอียด. (2554). การปรับตัวของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัย บูรพา. ปัญหาพิเศษวิทยาศาสตรบัณฑิต, สาขาวิชาสถิติ, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

อรอนงค์ นิยมธรรม, มาลา เทพมณี และวรเกียรติ ทองไทย. (2560). การปรับตัวของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 12(1), 273-285.

Gretchen, G. and Richard, M. (2015). Investigating First-Year Education Students’ Stress Level. Australian Journal of Teacher Education, 40(6), 1-12.

Dohrenwend, B. S., & Dohrenwend, B.P. (1994). Stressful life event: Their nature and effect. New York: Wiley.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Roy, C., & Andrews, H. A. (1999). The Roy adaptation model (2nd ed.). Stamford, CT: Appleton & Lange.

Additional Files

Published

2022-10-20