การศึกษาผลการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม สำหรับนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียน “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา

A Study of Learning Management on Inclusive Education Program for Students with Special Needs of Elementary Level in Piboonbumpen Demonstration School, Burapha University

Authors

  • สุเมธ งามกนก
  • วิโรฒน์ ชมภู

Keywords:

การจัดศึกษาแบบเรียนร่วม, นักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ, Inclusive Education Provision, Special Need Students

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม 2) ศึกษาปัญหา อุปสรรคและวิธีแก้ปัญหาของการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม สำหรับนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้บริหาร อาจารย์ภาคปกติฝ่ายประถมศึกษา อาจารย์การศึกษาพิเศษ และผู้ปกครองของนักเรียนในโปรแกรมการศึกษาพิเศษ จำนวน 63 คน เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม โดยใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากแบบประเมินโครงการอบรมฯ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์และการสังเกต และ 2) นักเรียนในโปรแกรมการศึกษาแบบเรียนร่วม จำนวน 9 คน ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตการณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แบบประเมินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) แบบสอบถาม 3) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม 4) การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ และ 5) เอกสารประกอบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมสำหรับนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา พบว่า ผู้บริหาร อาจารย์ภาคปกติฝ่ายประถมศึกษา อาจารย์การศึกษาพิเศษ และผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมอยู่ในระดับมาก มีการลงมือปฏิบัติงานตามแผนร่วมกันอยู่ในเกณฑ์ดี นักเรียนในโปรแกรมการศึกษาแบบเรียนร่วม มีพัฒนาการในด้านต่างๆ ดีขึ้น และผลการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน ส่วนใหญ่มีการพัฒนาอยู่ในเกณฑ์ดี ได้แก่ การรับนักเรียนและการคัดกรอง การคัดห้องเรียนและจัดชั้นเรียน การจัดแผนการศึกษา ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ การจัดสื่อสิ่งอำนวยความสะดวกส่งเสริมการเรียนรู้ การพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง การประสานงานและความร่วมมือภายในโรงเรียน การจัดสภาพบรรยากาศภายในห้องเรียนการศึกษาพิเศษ ห้องเรียนปกติ  สภาพแวดล้อมนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้และความปลอดภัย การสื่อสารกับผู้ปกครองการจัดประชุม จัดอบรมส่งเสริมความรู้ให้กับผู้ปกครอง ส่วนด้านที่ยังมีผลการพัฒนาอยู่ในเกณฑ์ต้องปรับปรุง ได้แก่ ด้านการวัดและการประเมิน การเปิดรับบุคลากร งบประมาณสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร การจัดสื่อเทคโนโลยีอุปกรณ์ และเครื่องมือที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน 2. ปัญหา และอุปสรรคของการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมสำหรับนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ประเด็นสำคัญ ได้แก่ การศึกษาและทำความเข้าใจพฤติกรรมในแต่ละรายบุคคลของนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษมีความซับซ้อน มีอารมณ์ที่ละเอียดอ่อน ดังนั้นการให้ความช่วยเหลือตามแผนการปรับพฤติกรรมสำหรับนักเรียนบางคนได้ใช้เวลามากกว่าที่กำหนดตามแผน การปฏิบัติให้บรรลุตามแผนนั้นไม่สามารถสำเร็จภายในหนึ่งภาคการศึกษาได้  การจัดส่งเสริมกิจกรรมความสามารถพิเศษรายบุคคลมีเวลาค่อนข้างน้อย การขาดแคลนบุคลากร งบประมาณสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร การจัดสื่อเทคโนโลยีอุปกรณ์ และเครื่องมือที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนยังไม่เพียงพอ การแก้ไขปัญหา ได้แก่ การร่วมมือกันของทุกฝ่าย คือ ผู้บริหาร ครูการศึกษาพิเศษ ครูผู้สอนปกติ และผู้ปกครอง มีการทำงานเป็นทีม การปฏิบัติตามแผนให้การช่วยเหลือในแนวทางเดียวกัน และการจัดงบประมาณสนับสนุนการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม สำหรับนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ อย่างเพียงพอและต่อเนื่อง  The research objectives were to 1) study the development results of inclusive education provision; 2) study the problems, the obstacles, and the solutions of inclusive education provision for special need students studying in primary level of Piboonbumpen Demonstration School, Burapha University. There were two groups of samplings in this research, namely 1) total sixty-three persons of school executives, regular primary program school teachers, special education school teachers, special education program students’ parents; and 2) total nine inclusive education program students. Data collection for the first sample group was project training evaluation forms, questionnaires, interview, and observation. Data collection for the second sample group regarded workshop project training evaluation form, questionnaires, participatory observation, informal interview, and other handouts. Data analysis was content analysis. The results revealed as follows: 1) The development results of inclusive education provision for special need students at primary level of Piboonbumpen Demonstration School, Burapha University revealed that school executives, regular primary program school teachers, special education school teachers, special education program students’ parents understood the process of inclusive education provision at “high level”. They cooperated and followed the designed plans at “high level”. The students in the inclusive education program performed better. Performance of each process were majorly progressive at “high level” such as student admission and investigation, classroom selection and cohort, study plan management, learning and development promotion, media and amenities for learning promotion, continuous personnel specialized training, coordination and cooperation in school, special education classroom and regular classroom management, environment outside classroom for learning and safety promotion, communication with parents, meetings, and special education training for parents. Assessment and evaluation, personnel recruitment, personnel training budget, technology and media provision, and other supportive learning equipment needed to be improved. 2) The problems and the obstacles of inclusive education provision for special need students at primary level of Piboonbumpen Demonstration School, Burapha University revealed that understanding and learning about special need individuals were sentimental sensitive. Therefore, assisting students based on behavior adjustment plan took more time to achieve within a semester. Providing special ability promotion of individuals needed longer time to complete as well as personnel, personnel training budget, technology and media, other supportive learning equipment were insufficient. The solutions to the problems were that of school executives, regular primary program school teachers, special education school teachers, special education program students’ parents worked together. Continuous and sufficient actions of assistance plan, inclusive education budget for special need students were significantly considered.

References

พงษ์ธร วชิระปราการพงษ์. (2560). การจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 5(2): 905-922

สุนิสา สกุลเกื้อกุล, หยกแก้ว กมลวรเดช และ สุกัญญา รุจิเมธาภาส. (2563). รูปแบบการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมสำหรับสถานศึกษาในจังหวัดน่าน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(8): 363-38

อัญชลา เกลี้ยงแก้ว. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสยาม.

Lamport, A. M., Graves, L., & Ward, A. (2012). Special needs students in inclusive classroom: The impact of social interaction on educational outcomes for learners with emotional and behavioral disabilities. European Journal of Business and Social Sciences, 1(5), 54-59.

McCarty, K. (2006). Full inclusion: The benefits and disadvantages of inclusive schooling an overview. Azusa Pacific University. Retrieved on July 17, 2016 from http://files.eric.ed.gov/ fulltext/ED496074.pdf

Additional Files

Published

2022-10-21

Issue

Section

Articles