การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหา สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา
The Development of Interactive Online Lessons on System Thinking and Problem Analysis for Burapha University Undergraduate Students
Keywords:
บทเรียนออนไลน์ปฏิสัมพันธ์, การคิดเชิงระบบ, การวิเคราะห์ปัญหา, Interactive online lessons, System thinking, Problem analysisAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนออนไลน์ปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหา สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา 2) ประเมินประสิทธิภาพบทเรียนออนไลน์ปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหา ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 (80/80) 3) ประเมินทักษะการคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหาของนิสิต หลังจากเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหา 4) เปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนกับคะแนนหลังเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหา เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยใช้กระบวนการ ADDIE Model ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ (A : Analysis) 2) การออกแบบ (D : Design) 3) การพัฒนา (D : Development) 4) การใช้จริง (I : Implementation) และ 5) การประเมินผล (E : Evaluation) ประเมินคุณภาพบทเรียนออนไลน์โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษาและการคิดเชิงระบบ จำนวน 5 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ที่เรียนวิชาการคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) บทเรียนออนไลน์ปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหา 2 ) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนออนไลน์ 3) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 4) แบบประเมินทักษะการคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย, ร้อยละ, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, การทดสอบประสิทธิภาพ E1/E2 และ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนาได้บทเรียนออนไลน์ปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหา สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ประกอบด้วยบทเรียน 4 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ 1) พื้นฐานการคิดเชิงระบบ 2) การคิดวิเคราะห์และเครื่องมือช่วยพัฒนาการคิด 3) องค์กรการเรียนรู้และกระบวนการคิดเชิงระบบ 4) การวิเคราะห์ปัญหาด้วยวิธีการคิดเชิงระบบ ผู้เชี่ยวชาญประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.15, S.D. = 0.23) 2. บทเรียนออนไลน์ปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหา สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพามีประสิทธิภาพ E1/E2 ดังนี้ หน่วยการเรียนที่ 1 = 80.16 /81.00, หน่วยการเรียนที่ 2 = 82.71 /81.75, หน่วยการเรียนที่ 3 = 89.79 /80.25, หน่วยการเรียนที่ 4 = 87.36 /82.50 สรุปได้ว่าประสิทธิภาพบทเรียนออนไลน์ทุกหน่วยการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 3. ทักษะการคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหาของนิสิต หลังจากเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหา เฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก (ร้อยละ 80.21) 4. การเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนกับคะแนนหลังเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ปฏิสัมพันธ์ เรื่อง การคิดเชิงระบบกับการวิเคราะห์ปัญหา เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The purposes of this study were to 1) develop interactive online lessons on system thinking and problem analysis for undergraduate students at Burapha University; 2) Evaluate the efficiency of Interactive online lessons on system thinking and problem analysis according to the criteria E1/E2 (80/80); 3) Assess students' system thinking and problem analysis skills after studying with interactive online lessons on system thinking and problem analysis; 4)Compare scores between pre-test and post-test. This study is a research and development based on the ADDIE Model processes which are 1) Analysis 2) Design 3) Development 4) Implementation 5) Evaluation. Online lesson quality was assessed by 5 educational technology and System thinking specialists. The sample consisted of 40 undergraduate student of Burapha University who studied the subject of System Thinking and Problem Analysis in the first semester of the academic year 2020 which is selected by a cluster random method. The research instruments included: 1) The interactive online lessons on system thinking and problem analysis 2) Online lessons quality assessment form 3) Pre-test and Post-test 4) Assess student’s systems thinking and problem analysis skills. The data was analyzed by using percentage, means, Standard Deviation, efficiency E1/E2 and t-test. The results of this study found that: 1. The interactive online lessons on system thinking and problem analysis for undergraduate students at Burapha university is developed which contains 4 units as follows: 1) Fundamentals of system thinking 2) analytical thinking and tools for thinking development 3) learning organizations and systems thinking processes, and 4) problem analysis by system thinking. The overall assessment by experts was at a high level (gif.latex?\bar{X} = 4.15, S.D. = 0.23). 2. The efficiency of Interactive online lessons on system thinking and problem analysis for undergraduate students at Burapha University, E1/E2, for unit 1 is 80.16 /81.00, unit 2 is 82.71 /81.75, unit 3 is 89.79 /80.25 and unit 4 is 87.36 /82.50 which more than the criterion set 80/80. 3. Students' system thinking and problem analysis skills after study on interactive online lessons on system thinking and problem analysis are at the highest level (80.21 %) 4. The post-test score after study on interactive online lessons on system thinking and problem analysis is higher than pre-test at .05 level significant.References
กุลธวัช สมารักษ์, ปณิตา วรรณพิรุณ และ พัลลภ พิริยะสุรวงศ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบผสมผสานผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยใช้กรณีศึกษาด้วยวิดีโอแชร์ริงเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 6(1), 205-214.
จินตวีร์ คล้ายสังข์ และ เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2562). รู้รอบวัฒนธรรมจากห้องเรียนเสมือนจริง: การออกแบบระบบจากงานวิจัยสู่แนวปฏิบัติ. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(1), 42-62.
จิรนันท์ ชาติชัยนานนท์. (2557). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงระบบของนักศึกษาสาธารณสุข. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 8(1), 214-227.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2554). การวิจัยเชิงวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา. เอกสารประกอบการสอน. มปท.
ณัฐกร สงคราม. (2554). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นาถวดี นันทาภินัย. (2561). การวิจัยและพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงเพื่อการพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(2), 54-69.
เนาวนิตย์ สงคราม. (2559). ระบบการเรียนด้วยอีเลิร์นนิงบนสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือนจริงเพื่อพัฒนา ความสามารถในการแก้ปัญหาและการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับนิสิตศึกษาครุศาสตร์บัณฑิตในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐกร สงคราม. (2554). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มกราพันธุ์ จูฑะรสก. (2556). การคิดอย่างเป็นระบบ: การประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพรส จำกัด.
มนชิดา ภูมิพยัคฆ์, ทวี สระน้ำคำ และไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนบนเว็บแบบผสม ผสานด้วย เทคนิคการเรียนร่วมกันเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 11(1), 38-47.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2554). การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์. พิมพ์ครั้งที่ 3 (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ริปอง กัลป์ติวาณิชย์. (2556). ผลการเรียนแบบผสมผสานด้วยวิธีการสอนแบบสาธิตเพื่อการฝึกทักษะปฏิบัติวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก เรื่องการสร้างภาพเคลื่อนไหวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย. วารสารวิชาการ Viridian E-Journal, 6(2), 642-654.
ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2560). เทคนิคการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ในยุค Education 4.0 การใช้เทคโนโลยี. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิลาวรรณ์ ปั้นหุ่น และมนัสนันท์ น้ำสมบูรณ์. (2558). การศึกษาผลการเรียนรู้และทักษะการคิดขั้นสูงเรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซิปปา. Veridian E-Journal, 8(2), 1144-1160.
วีรวิชญ์ เลิศรัตน์ธำรงกุล. (2563) การพัฒนาบทเรียนบนเว็บที่ใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ วิชากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาปริญญาตรีมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(2), 22-40.
ศยามน อินสะอาด. (2553). การพัฒนารูปแบบเลิร์นนิ่งอ็อบเจกต์เพื่อเสริมสร้างการสร้างความรู้และทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรชัย สิกขาบัณฑิต. (2541). กิจกรรมปฏิสัมพันธ์การสอนทางไกล. กรุงเทพฯ: สำนักสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุรสิทธิ์ วรรณไกรโรจน์. (2552). ความหมายของ e-learning: โครงการเรียนรู้แบบออนไลน์แห่ง สวทช [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://aumaim-049.blogspot.com/2010/05/blog-post.html
สุรีรัตน์ อักษรกาญจน์. (2562). การคิดวิเคราะห์ : การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบแวดวงวรรณกรรมร่วมกับการใช้คำถามระดับสูง. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 7(1), 52-62.
อัญญารัตน์ สุทัศน์ ณ อยุธยา, จินตวีร์ คล้ายสังข์ และ อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง. (2563). การฝึกอบรมออนไลน์เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดเชิงระบบ: การศึกษาสภาพและความคาดหวัง. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 48(2), 358-381.
Ali, N. H., & Rosli, R. A. H. M. (2019). Digital Technology: e-Content Development using Apple Technology. Malaysian Journal of Distance Education, 21(1), 83-94.
Borich, G. D. (2004). Effect Teaching Methods. New Jersey: Pearson Education, Inc.
Fisher, R. (1992). Teaching children to think. Great Britain: T. J Print.
Koening, J. A. (2011). Assessing 21st Century Skills. The National Academies Press. Washington (DC).
Kim, D. H. (2000). Systems Thinking Tools, A Users Reference Guide. USA : Pegasus Communications, Inc.
Senge, S. (1990). The fifth discipline: The art & practice of the learning organization. Currency Doubleday. New York: Doubleday/Currency.
Seels, B., & Richey, R. (1994). Instructional technology: The definitions and domains of the field. Washington, D.C.: Association for Educational Communications and Technology.