การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม

A Development of the Teachers’ Development Model Using the Concept of a Professional Learning Community for Literacy among Students of Inthapanya Municipality School Wat Yai Intharam

Authors

  • นฤมล คล้ายริน

Keywords:

การพัฒนารูปแบบ, การพัฒนาครู, ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, การอ่านออกเขียนได้

Abstract

การวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยของรูปแบบการพัฒนาครู โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม 2. ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม 3. พัฒนารูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม 4 ประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม จํานวน 59 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) งานวิจัยนี้ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดการพัฒนารูปแบบที่ผู้วิจัยสังเคราะห์ขึ้น เครื่องมือประกอบด้วย แบบประเมินและแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI Modified) ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยของรูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม สามารถแบ่งออกเป็นองค์ประกอบหลัก 5 องค์ประกอบ และองค์ประกอบย่อย 15 องค์ประกอบมีผลการประเมินองค์ประกอบ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของรูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม พบว่า สภาพปัจจุบันมีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์มีความพึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม ประกอบด้วยรูปแบบย่อย 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบย่อยที่ 1 การเตรียมการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ รูปแบบย่อยที่ 2 การจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ รูปแบบย่อยที่ 3 การประเมินผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ รูปแบบมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด 4. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม พบว่า 4.1 ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจการใช้รูปแบบและคู่มือรูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน  The objectives of a research of the improvement of teachers’ professional skills developing concept by using the local knowledges for the literacy of students in Inthapanya Municipal School Wat Yai Intharam 1. were to study primary and secondary components of the local knowledges and wisdoms contributing to teachers’ professional skills development 2. were to analyze the current environments and consider favorable conditions which support teacher’s professional skills improvement with the local knowledges applied for the literacy of students in Inthapanya Municipal School Wat Yai Intharam 3. were to enhance the concept of teacher’s professional skills development by means of utilizing the local knowledges for the literacy of students in Inthapanya Municipal School Wat Yai Intharam 4. were to evaluate the result deriving from teacher’s professional skills developing concept with the local knowledges usage. This research was mixed method with 59 teachers in Inthapanya Municipal School Wat Yai Intharam as the sample. Professional skills evaluations and questionnaires were used as the research instrument along with the teacher’s professional skills developing concept self-initiated by researcher. The data were collected and analyzed by percentage, mean, standard deviation and priority needs index (PNI) The result of this research found that 1. The primary and secondary components of the local knowledges and wisdoms contributing to teachers’ professional skills development for the literacy of students in Inthapanya Municipal School Wat Yai Intharam can be divided as 5 primary components and 15 secondary components which were evaluated in the most appropriate level. 2. The current environments which support teacher’s professional skills improvement with the local knowledges applied for the literacy of students in Inthapanya Municipal School Wat Yai Intharam was assessed in moderate level while the favorable conditions was evaluated in the highest favorable level. 3. The results of teacher’s professional skills developing concept by means of utilizing the local knowledges consist of 3 secondary components including 1) the learning plans and preparations using the local knowledges for the literacy of students 2) the learning managements with the local knowledges applied for the literacy of students 3) the assessment of the learning management by utilizing the local knowledges for the literacy of students were in the highest level when evaluated in proper, possibility and productivity aspect. 4. The result of applying the local knowledges in teachers’ professional skills developing concept for the literacy of students in Inthapanya Municipal School Wat Yai Intharam found that; 4.1 The overall teachers have the ability in learning management at the highest level. 4.2 The satisfactions toward concepts and guidelines for developing teacher’s professional skills were at the highest level in all perspectives.

References

กระทรวงศึกษาธิการ (2548).การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กองพล เคลือบพณิชกุล. (2542). การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร.

จันทรานี สงวนนาม. (2545). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ศรีอนันต์การพิมพ์.

ดิเรก พรสีมา. (2554). แนวทางการพัฒนาวิชาชีพครู. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ปลุกโลกการสอนให้มีชีวิตสู่ห้องเรียนสู่ศตวรรษใหม่. กรุงเทพมหานคร: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.

ทิศนา แขมมณี. (2545). การคิดและการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะ กรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2541). การพัฒนาการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ชมรมเด็ก.

ประไพ ฉลาดคิด (2548). หลักการสอน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ (2554). โครงการสร้างชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์เพื่อปฏิรูปการศึกษา. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2543). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพมหานคร.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2542). การบริหารงานด้านวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.

พศิน แตงจวง. (2556). แนวคิด ทฤษฎีการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา. 2556. <http://phasina1.blogspot. com/2013/12/blog-post.html> มิถุนายน 2558.

ฟาฏินา วงศ์เลขา. (2558). “สพฐ. พลิกโฉมโรงเรียนมุ่งเป้า ป.1 อ่านเขียนได้,” เดลินิวส์. 16 มิถุนายน.

มยุรฉัตร ธรรมวิเศษ. (2554). รูปแบบปฏิบัติการพัฒนาครูด้านการทานวัตกรรมการเรียนการสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2553). คู่มือการจัดระบบการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้. ม.ป.ท.: เทียนวัฒนา พริ้นท์ติ้ง.

มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2556). การจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.พ.

โรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม. (2561). รายงานประเมินตนเองปีการศึกษา 2561. ชลบุรี: ฝ่ายวิชาการโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม, เทศบาลเมืองชลบุรี.

วรรณี โสมประยูร. (2544). การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร:

วรลักษณ์ ชูกำเนิด และเอกรินทร์ สังข์ทอง. (2557). องค์ประกอบด้านพื้นที่การเรียนรู้ของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู บริบทโรงเรียนในประเทศไทยมีแนวทางการจัดการเรียนรู้ สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วรากรณ์ สามโกเศศ และคณะ. (2553). ข้อเสนอระบบการศึกษาทางเลือกที่เหมาะสมกับสุขภาวะคนไทย. กรุงเทพ มหานคร: ภาพพิมพ์.

วัฒนะ บุญจับ. (2541). ศาสตร์แห่งการใช้ภาษา. กรุงเทพมหานคร: มิตรสยาม.

วิมลศรี ศุษิลวรณ์. (2555). การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 เพลินพัฒนาโมเดล: ทั้งนักเรียนและครู พัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง. กรุงเทพมหานคร: กรีน พริ้นท์.

สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา. (2548). รายงานประจำปี 2548. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.

สนิท ฉิมเล็ก. (2540). พฤติกรรมการสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. พิษณุโลก: คณะครุศาสตร์สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม.

สมคิด สร้อยน้ำ. (2542). หลักการสอน. อุดรธานี: สถาบันราชภัฏอุดรธานี.

สมบัติ นพรัก และคณะ. (2557). รูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก: กรณีศึกษาของจังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). การจัดการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ในพื้นที่ด้วยพลังเครือข่าย, วารสารการศึกษาไทย. 11(116), 12-18.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). รายงานผลการศึกษาสถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (2557). เปิด 6 อุปสรรคในการทำงานของครูไทย. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2559). คู่มือ เครื่องมือวัดและประเมินผลความสามารถ และทักษะการอ่านและการเขียน สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สิวรี พิศุทธิ์สินธพ. (2557). รูปแบบการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพในสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิก. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

สุกัญญา โฆวิไลกูล. (2547). การวิเคราะห์ระบบเพื่อการบริหารสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2540). การเขียนเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาการศึกษา.

สุรพล ธรรมร่มดี. (2553). อาศรมศิลป์วิจัย: การวิจัยและพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ แนวจิตตปัญญา. โครงการเอกสารวิชาการการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ลำดับที่ 8. นครปฐม: เอมี่ เอ็นเตอร์ไพรส์.

หฤทัย อนุสสรราชกิจ และคณะ. (2557). กระบวนการพัฒนาครูด้วยระบบหนุนนำต่อเนื่องเพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน ในจังหวัดจันทบุรี. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

อรทัย วิมลโนช และคณะ. (2540). ภาษาไทย 2 พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Banghart, Frank W. (1969). Educational Systems Analysis. New York: Collier McMillan.

Biggs, C. L., Birks, E. G., &, Atkins, W. (1980). Managing the systems Development process. Engle Wood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Bittel, L. R. (1978). Encyclopedia of Profession Management. New York: McGraw-Hill.

Bloom, B. S. (1982). Human Characteristics and School Learning. New York: McGraw-Hill.

Carroll, John B. (1971). The Carroll Model: A 25-Year Retrospective and Prospective View. USA.: Educational Researcher.

Darling-Hammond, L. (1998). Teachers and Teaching: Testing Policy Hypotheses from a National Commission Report. USA.: Educational Researcher.

Darling-Hammond, L. & Rothman, R. (2011). Teacher and Leader Effectiveness in High Performing Education Systems. Washington, DC: Alliance for Excellent Education and Stanford, CA: Stanford Center for Opportunity Policy in Education,

DuFour, R. & Mattos, M. (2013). How do Principals Really Improve Schools? USA: The Principalship.

Edwards, P. (1985). Systems Analysis, Design and Development: With Structured Concepts. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Elmore, R. F. (2002). Bridging the Gap Between Standards and Achievement: The Imperative for Professional Development in Education. Washington, DC: Albert Shanker Institute.

Fred R. David. (2010). Creating a Professional Learning Community. National Forum of USA: Sam Houston State University.

Hord, S. M. (1997). Theories of Learning 4th ed. New Jersey: Prentice-Hall.

Huffman, J., & Hipp, K. (2003). The Role of Shared Values and Visions in Creating Professional Learning Communities. USA.: National Association of Secondary School Principals.

Lewis, M. & Andrews, D. (2004). Building Sustainable Futures: Emerging Understandings of the Significant Contribution of the Professional Learning Community. USA.: Improving Schools.

McKinsey. (2007). McKinsey Report on Education. June.

Smith, A. S. (1978). System Concept, Total Encyclopedia of Professional Management. s.l.: s.n.

Stoll, L., Bolam, R., McMahon, A., Wallance, M. & Thomas, S. (2006). Professional Learning Community: An Overview of the Literature. 2006.<http://www.sagepub.com> June 2016.

Von-Bertalanffy, Ludwig. (1968). General System Theory. New York: George Braziller.

Additional Files

Published

2022-10-21

Issue

Section

Articles