การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
An Evaluation of the Master of Arts Program in Human Resource Development (Revised A.D. 2018), Faculty of Education, Burapha University
Keywords:
การประเมินหลักสูตร, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, มหาวิทยาลัยบูรพา, Curriculum evaluation, human resource development, Chuxiong normal universityAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และ 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณโดยเก็บแบบสอบถามจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน นิสิตปัจจุบัน ศิษย์เก่า และผู้ใช้นายจ้างหรือหัวหน้างานของบัณฑิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษา พบว่า 1) การประเมินหลักสูตร โดยใช้ CIPPIEST Model พบว่า ด้านการประเมินบริบท การประเมินปัจจัยนำเข้า การประเมินกระบวนการ การประเมินผลผลิต การประเมินผลกระทบ การประเมินประสิทธิผล การประเมินความยั่งยืน การประเมินการถ่ายโยงความรู้ ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 2) แนวทางการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร พบว่า หลักสูตรควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นนักปฏิบัติ (Practitioner) โดยอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีที่เป็นหลักพื้นฐาน ให้มีความเข้าใจ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ เน้นการพัฒนาทุนมนุษย์โดยให้ความรู้ศาสตร์ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญในหลากหลายมิติ รวมถึงทำให้ผู้เรียนเป็นผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD Influencer) และเป็นนวัตกร (Innovator) และข้อเสนอแนะในการปรับปรุงหลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรควรพิจารณาความสอดคล้องระหว่างปรัชญา ความสำคัญ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร และรายวิชากับความต้องการของผู้เรียนและบริบทของสังคมในปัจจุบัน ความน่าสนใจและทันสมัยของเนื้อหาวิชา กระบวนการเตรียมความพร้อมให้กับนิสิตก่อนเข้าศึกษา ทรัพยากรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และงบประมาณสนับสนุน The purposes of this study were 1) to evaluate the curriculum of the Master of Arts Program in Human Resource Development (Revised Curriculum, B.E. 2561 (2018)), in the Faculty of Education, Burapha University, and 2) to provide guidelines for development and improvement of the Master of Arts Program in Human Resource Development (Revised Curriculum, B.E. 2561 (2018)), in Faculty of Education, Burapha University. The researcher used CIPPIEST model of Daniel L. Stufflebeam to assess the program. In this study, the mixed method approaches were applied. For quantitative research, questionnaires were used to collect data from stakeholders comprising lecturers, current undergraduate students, alumni, and employers or supervisors of the graduate students. The data were analyzed by descriptive statistics including frequency, percentage, mean, and standard deviation. In qualitative research, in-depth interviews were conducted with the experts, and the data gained from such interviews were analyzed with content analysis. The results of the research suggested that: 1) based on evaluation result from CIPPIEST Model, it was found that the scores of context evaluation, input evaluation, process evaluation, product evaluation, impact evaluation, effectiveness evaluation, sustainability evaluation, and transportability evaluation were at the highest level in all aspects; 2) regarding guidelines for development and improvement of the program, it was found that the curriculum should encourage the students to be practitioner in line with the fundamental theory, and the lecturers should ensure that the students understand and can apply the knowledge to their practice, and place emphasis on human capital development by providing important HRD knowledge in various aspects, and encourage the students to be HRD influencer and innovator. Regarding suggestions for curriculum improvement, the responsible lectures should consider the correspondence between the philosophy, importance and objectives and courses of the curriculum, and needs of the students and current social context to raise the attractiveness; update the content of the course; improve the process for preparing students before participating in the course; and provide resources and financial support to facilitate the learning of the students.References
กองแผนงานสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา. (2563). แผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2567 (ฉบับเสนอที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2563 วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2563). สืบค้นจาก http://www.polsci-law.buu.ac.th/pollaw/download/news/BUU_ Strategic_Plan_2564-2567_(Council.BUU_8-2563).pdf
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับประกาศราชกิจจานุเษกษา). สืบค้นจาก http://nscr.nesdb.go.th
ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม และสมาธิ นิลวิเศษ. (2561). การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสนเทศศาสตร์เพื่อการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal, Silpakorn. 11(2), 1946-1957.
ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล, สมจิตรา เรืองศรี, กิตติศักดิ์ ลักษณา, และ พรภิรมย์ หลงทรัพย์. (2560). การประเมินหลักสูตรแนวใหม่: รูปแบบ CIPPIEST. วารสารพยาบาลตำรวจ, 9(2), 203-212.
นพพร แหยมแสง. (2560). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(1), 95-103.
“ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558” (2558, 13 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนพิเศษ 295 ง. หน้า 12-14.
พจนีย์ มั่งคั่ง, กัญภร เอี่ยมพญา, ศิริวัฒน์ จิระเดชประไพ, พรทิพย์ คำชาย, สมศักดิ์ เอี่ยมคงสี, ลินดา นาคโปย, และอำนาจ บุญประเสริฐ. (2561). การประเมินหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ. 2559) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 10(28),243-255.
มารุต พัฒผล. (2558). การประเมินหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
มาเรียม นิลพันธ์. (2011). การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal, Silpakorn. 4(2), 248-262.
รุ่งทิวา จันทร์วัฒนวงษ์. (2557). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร. อุดรธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์. (2557). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
วสันต์ ทองไทย. (ม.ป.ป.). การประเมินหลักสูตรจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. สืบค้นจาก http://www.doed.edu.ku. ac.th/article/eva_curri.pdf เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2563.
สมพร ร่วมสุข, มณฑนา วัฒนถนอม, บุษบา บัวสมบูรณ์, อธิกมาส มากจุ้ย, บำรุง ชำนาญเรือ, และชลธิชา หอมฟุ้ง. (2559). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 9(1), 1117-1128.
อัจฉรียา นันทศิริพล และสินชัย เล็กวานิชกุล. (2562). การปรับตัวของหลักสูตรต่อกระแสแนวโน้มการล่มสลายของอุดมศึกษา. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 5(2), 663-673.