การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
An Evaluation of the Doctor of Philosophy Program in Educational Technology, Revised A.D. 2016
Keywords:
การประเมินหลักสูตร, ดุษฎีบัณฑิต, เทคโนโลยีการศึกษา, An Evaluation, Doctor of Philosophy Program, Educational TechnologyAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2559 โดยใช้แบบจำลองการประเมินแบบซิปป์ 2) ศึกษาความต้องการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา และนำข้อมูลไปใช้ในการทำงานของบัณฑิต 3) ศึกษาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ และ 4) จัดทำข้อเสนอแนะและแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 28 คน ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา อาจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง อาจารย์ผู้สอน นิสิต และผู้ใช้บัณฑิตตามหน่วยงานหรือสถานประกอบการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ผลการประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 มีรายละเอียดโดยสรุป ดังนี้ 1) ความคิดเห็นต่อหลักสูตรฯ โดยรวมด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลิตผล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการศึกษาความคิดเห็นต่อความต้องการหลักสูตรฯ ฉบับกรรมการประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนมีค่า (ค่าเฉลี่ย = 4.60 / S.D. = 0.10) และฉบับนิสิตมีค่า (ค่าเฉลี่ย = 4.50 / S.D. = 0.17) อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการศึกษาความคิดเห็นต่อการนำความรู้ไปใช้ในการทำงานฉบับกรรมการประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนมีค่า (ค่าเฉลี่ย = 4.61 / S.D. = 0.11) และฉบับนิสิตมีค่า (ค่าเฉลี่ย = 4.61 / S.D. = 0.08) อยู่ในระดับมากที่สุด 4) ผลการศึกษาความคิดเห็นต่อคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์หลักสูตรฯ พบว่า อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.67 / S.D. = 0.11) The purposes of this research were: 1) to evaluate the doctoral of philosophy program in educational technology, 2016 revised edition by applying CIPP model for evaluation. 2) to study the opinions for the requirements of the doctoral of philosophy program in educational technology and applying information to graduate’s work. 3) to study desirable graduate characteristics. 4) to provide recommendations and guidelines for improving the doctoral of philosophy program in educational technology. The population of this research were 28 persons; consisted of experts in educational technology, committees and instructors of the doctoral of philosophy program in educational technology, students of the doctoral of philosophy program in educational technology and employers of agencies or establishments. The instruments of this research were the 5 levels rating scale questionnaire and the structured interview type. The collect data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation and content analysis. The result found that: The results of evaluation on the doctoral of philosophy program in educational technology, 2016 revised edition were 1) the opinions of the doctoral of philosophy program in educational technology in all of aspects (the context, the import factor, the process and the outcomes) were average at the high level. 2) the opinions of committees and instructors for the requirements of the doctoral of philosophy program in educational technology were average at the highest level (average = 4.60 / S.D. = 0.10) and the opinions of students were average at the highest level (average = 4.50 / S.D. = 0.17) 3) the opinions of committees and instructors for applying knowledge to work were average at the highest level (average = 4.61 / S.D. = 0.11) and the opinions of students were average at the highest level (average = 4.61 / S.D. = 0.08) 4) the opinions to desirable graduate characteristics were at the high level (average = 4.67 / S.D. = 0.11)References
บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์น.
มารุต พัฒผล. (2556). การประเมินหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อาร์ แอนด์ เอ็น ปริ้นท์.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2548). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุนีย์ ภู่พันธ์. (2546). แนวคิดพื้นฐานการสร้างการพัฒนาหลักสูตร. เชียงใหม่: เดอะ โนวเลจ เซนเตอร์.
สุรวีร์ เพียรเพชรเลิศ. (2561). แนวคิดและแนวทาง: การประเมินหลักสูตร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนุสรณ์ นางทะราช. (2549). การประเมินหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Parkay, F.W. & Hass, F.G. (2000). Curriculum Planning: A Contemporary Approach. 7th Edition. Boston: Allyn and Bacon.
Skog, D.A., Wimelius, H. & Sandberg, J. (2018). Digital Disruption. Business & Information Systems Engineering. 60(4), 431–437.
Stufflebeam, Daniel L. (1971). Education Evaluation and Decision Making. Itasca, Illinois: F.E. Peacock Publishers, Inc.,
Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt, Race and World.