ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Effects of Cooperative Learning Student Teams Achievement Division Technique (STAD) With Flipped Classroom on Learning Achievement and Geo-Literacy of Mathayomsuksa 1 Students
Keywords:
การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD, ห้องเรียนกลับด้าน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การรู้เรื่องภูมิศาสตร์, The student teams achievement division, Flipped classroom, Learning achievement, Geography literacyAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับห้องเรียนกลับด้าน 2) เพื่อศึกษาการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ของนักเรียนหลังจากที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับห้องเรียนกลับด้าน หน่วยการเรียนรู้ภัยพิบัติ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านสวนอุดมวิทยา ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) 1 ห้องเรียน จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับห้องเรียนกลับด้าน หน่วยการเรียนรู้ภัยพิบัติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ภัยพิบัติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับห้องเรียนกลับด้าน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. การรู้เรื่องภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับห้องเรียนกลับด้าน หน่วยการเรียนรู้ภัยพิบัติ อยู่ในระดับดี The purpose of this research were; 1) study the students’ achievement before and after studying by using cooperative learning STAD technique with flipped classroom. and 2) studying geography literacy of Mathayomsuksa 1 students after studying by using cooperative learning STAD technique with flipped classroom. Disaster Learning Unit. The sample groups in this research consisted of 27 Mathayomsuksa 1 students studying the second semester of academic year 2021 at Bansuanudomvittaya School. The cluster random sampling method was used in selecting students in the experiment group. The research instrument were the lesson plans collaborative learning management, STAD technique with flipped classroom. Disaster Learning Unit achievement test, and the Geography Knowledge assessment form. The data was analyzed by the use of Mean, Percentage, Standard Deviation, and t-test Dependent. The research results were as follows: 1. Students learning achievement displayed on the post-test scores in the geography subject on the Disaster Learning Unit. Using the STAD cooperative learning management technique with the flipped classroom was significantly higher than the pre-test at the .05 level. 2. The posttest score of geography literacy after using STAD cooperative learning with the flipped classroom. Disaster Learning Unit were at good level.References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา กรมศาสนา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางสาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.
กิตติกวินท์ ปินไชย และรัตติกาล สารกอง. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการรู้เรื่องภูมิศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. RMU. J., 15(1), 29-42.
กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เฌอณรินทร์ วรรณรัตนางกูร. (2562). การพัฒนาการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ในการเรียนภูมิศาสตร์ทวีปเอเชียของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ร่วมกับเทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์. ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปริพันธ์ หมั่นค้า. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการกลุ่ม และความพึงพอใจในการเรียน เรื่อง ชีวิตในสิ่งแวดล้อม โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบร่วมมือของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2531). หลักการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัท ศึกษาพร จำกัด.
วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2547). กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: ภาพการพิมพ์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). สภาวะการศึกษาไทย 2561/2562 การปฏิรูปการศึกษาในยุคดิจิทัล. นนทบุรี: บริษัท ภาพพิมพ์จำกัด.
อภิญญารักษ์ วงษ์ทิพย์. (2562). การพัฒนาผลการเรียนรู้และทักษะการทํางานเป็นทีม โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ ในรายวิชาชีววิทยา เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์, วิทยาลัยครูสุริยเทพ, มหาวิทยาลัยรังสิต.
Bergmann, J., & Sams, A. (2012). Flip your classroom: Reachevery student in every class day Washington, DC: International Society for Technology in Education.
Slavin, R. E. (1991). Student Team Learning: A Practical Guide to Cooperative Learning (3rd ed.). Washington, DC: National Education Association of the United States.