แนวทางส่งเสริมการออมเงินสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนศรีราชาที่เป็นสมาชิกโครงการธนาคารโรงเรียน

The Guidelines Promoting the Saving of Upper-Level Students of Sriracha School who are the Members of the Sriracha School Bank

Authors

  • ณัฐรภิรมณ์ วราสินธ์
  • ทรงพล วงศ์พระราม
  • ปุณณิฐฐา มาเชค

Keywords:

แนวทางการส่งเสริม, การออมเงิน, ธนาคารโรงเรียน, Saving guidelines, Saving, School bank

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการออมเงินของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนศรีราชาที่เป็นสมาชิกโครงการธนาคารโรงเรียน (2) ศึกษาแนวทางส่งเสริมการออมเงินของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนศรีราชาที่เป็นสมาชิกโครงการธนาคารโรงเรียน และ (3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางส่งเสริมการออมเงินของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนศรีราชาที่เป็นสมาชิกโครงการธนาคารโรงเรียนมีวิธีดำเนินการวิจัยสามระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาพฤติกรรมการออมเงินของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนศรีราชาฯ ผู้ให้ข้อมูลเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่เป็นสมาชิกโครงการธนาคารโรงเรียน รวม 230 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ระยะที่ 2 การศึกษาแนวทางส่งเสริมการออมเงินของนักเรียน ผู้ให้ข้อมูลเป็นครูผู้รับผิดชอบโครงการธนาคารโครงเรียน และเจ้าหน้าที่ธนาคารโรงเรียน รวม 7 คน ระยะที่ 3 การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางออมเงินของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนศรีราชาที่เป็นสมาชิกโครงการธนาคารโรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ ครูผู้รับผิดชอบโครงการธนาคารโรงเรียน และเจ้าหน้าที่ธนาคาร รวม 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามพฤติกรรมการออมเงิน แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสัมภาษณ์การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) หาค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการออมเงินของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนศรีราชา ที่เป็นสมาชิกโครงการธนาคารโรงเรียน ส่วนใหญ่มีสาเหตุการออมเงินเพื่อนำเงินไปซื้อสิ่งของ ความถี่ในการออมเงิน 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ จำนวนเงินออมกับธนาคารโรงเรียน ไม่เกิน 100 บาท/ครั้ง และนำเงินส่วนที่เหลือจากการใช้จ่ายมาออม 2. แนวทางส่งเสริมการออมเงิน มี 5 ด้าน ประกอบด้วย (1) ด้านการสนับสนุนจากครูและสถานศึกษา (2) ด้านการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ธนาคาร (3) ด้านการสนับสนุนจากผู้ปกครองและครอบครัว (4) ด้านการสนับสนุนจากกลุ่มเพื่อน และ (5) ด้านการปลูกฝังทัศนคติเกี่ยวกับการออมเงิน 3. แนวทางส่งเสริมการออมเงินสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนศรีราชาที่เป็นสมาชิกโครงการธนาคารโรงเรียน ทั้ง 5 ด้าน มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในสภาพจริง  This study aimed to 1) study the saving behaviors of upper-level students of Sriracha School who are the members of the Sriracha School Bank, 2) study the guidelines to promote savings of upper-level students of Sriracha School who are the members of the Sriracha School Bank, and 3) study the appropriateness and feasibility of the saving guidelines of upper-level students of Sriracha School who are the members of the Sriracha School Bank. According to the purposes of the study, the data collection was divided into 3 phases. The first phase was to study the saving behaviors of the 230 upper-level students of Sriracha School (Grades 10-12) selected as participants by using stratified random sampling. The second data collection phase aimed to study the guidelines to promote savings of upper-level students of Sriracha School who are members of the Sriracha School Bank. The data was drawn from 7 participants including the teacher who was responsible for the school bank (the head of the school bank) and the school bank officers. The third phase was to study the appropriateness and feasibility of the saving guidelines. The data collected in this phase was given by 7 participants: the school administrators, the head of academic affairs, the head of the school bank, and the school bank officers. The saving behavior questionnaire, structural interview, and group discussion were employed as the data instruments. Content, frequency, and percentage were used to analyze the collected data. The finding revealed that 1) the purpose of the savings of upper-level students who were members of the Sriracha School Bank was to save money for buying things. They saved money 1-2 times a week. It was not more than 100 baht that they deposited each time. Most of them used leftover money to deposit in the Sriracha School Bank. 2) There were five saving guidelines including 1) support from the teachers and school administrators, 2) support from Sriracha School Bank officers, 3) support from the parents of students, 4) support from their classmates, and 5) attitude cultivation towards the savings. 3) The 5 saving guidelines for the upper-level students of Sriracha School who were members of the Sriracha School Bank were appropriate and feasible to the real situations.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กนกกาญจน์ สังขนนท์, วรพงศ์ จวงรัตนะกำจร, และชาคริต ศรีสกุน. (2563). พฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณ: กรณีศึกษากลุ่มตัวอย่างพนักงานธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(3), 479-490.

กมลวรรณ วรรณธนัง, ประพันธ์ แสงทองดี, และประกร ฤทธิญาติ. (2563). รูปแบบการส่งเสริมการออมของแรงงานนอกระบบตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกองทุนการออมแห่งชาติกรณีศึกษา ตำบลบางนมโค อำเภอเสนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 18(2), 54-68.

ณัฐพล กองทอง. (2560). แนวทางการส่งเสริมภาวะการออมเงินของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่เป็นสมาชิกโครงการธนาคารโรงเรียน จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนศึกษา). นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธิชาพร ยอดกัณหา. (2554). การประเมินโครงการธนาคารโรงเรียนของโรงเรียนท่าตะโกพิทยาจังหวัดนครสวรรค์ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ธนาคารออมสิน. (2554). คู่มือโครงการธนาคารโรงเรียนธนาคารออมสิน. กรุงเทพฯ : ฝ่ายการตลาด ประชาสัมพันธ์ งานส่งเสริมธุรกิจ.

ธนาคารออมสิน. (2558). คู่มือโครงการธนาคารโรงเรียนธนาคารออมสิน. กรุงเทพฯ : ฝ่ายการตลาดประชาสัมพันธ์ งานส่งเสริมธุรกิจ.

ธนานพ ลิ่มสุวรรณโรจน์, และพาชิตชนัต ศิริพานิช. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการวางแผนทางการเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 13(1), 250-251.

พรพรรณ วัฒนวิชัย. (2545). วารสารราชมงคลล้านนา. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2565, เข้าถึงข้อมูลได้จาก file:///C:/Users/Teacher/Downloads/75426-Article% 20Text-179959-1-10-20170123.pdf

โรงเรียนหัวหาดวิทยา. (2563). แนวทางส่งเสริมพฤติกรรมการออมของนักเรียนระดับประถมศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนหัวหาดวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2565, เข้าถึงข้อมูลได้จาก http://www.nkedu1.go.th/NEW2563/admin_web/pic_news3/ilovepdf_merged.pdf

วินัย โหมดเทศน์. (2549). การประเมินภาวะการออมของนักเรียนในโครงการธนาคารโรงเรียนวัดนวลนรดิส กรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2565, เข้าถึงข้อมูลได้จาก http://202.29.22.172/fulltext/2558/117587/chapter2.pdf

วรรณา ชุมพลรักษ์. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการออมเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(3), 215-222.

วิไลลักษณ์ เสรีตระกูล. (2557). ปัจจัยในการทํานายพฤติกรรมการออมของนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 28(85), 300-315.

ศิริวรรณ รุ่งอาภา. (2544). ความต้องการและความพร้อมในการจัดตั้งธนาคารโรงเรียนตามโครงการธนาคารออมสินของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญในจังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชานโยบายสาธารณะ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุนัยญา แดงเหม, และนริศรา เจริญพันธ. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการออมของครัวเรือนไทยในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล. Journal of Demography, 37(1), 49-68.

หิรัญญา อํานาจเกียรติกุล. (2544). การศึกษาเปรียบเทียบการบริหารธนาคารโรงเรียน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Money Watch. (2556). โครงการสำรวจพฤติกรรมการจัดการการเงินส่วนบุคคล. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2565, เข้าถึงข้อมูลได้จาก http://www.digitalschool.club/digitalschool/technologym1-3/businessm1_1/more1/lesson4/web4.php

Additional Files

Published

2023-01-31