แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูสอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษา ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

Guidelines for Chinese Language Teacher Competencies in Eastern Economics Corridor (EEC) of Secondary Section

Authors

  • ภัทรมนัส ศรีตระกูล

Keywords:

สมรรถนะครู, ครูสอนภาษาจีน, พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก, Competencies, Chinese Language Teachers, The Eastern Economics Corridor (EEC)

Abstract

การวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัญหาการพัฒนาสมรรถนะครูสอนภาษาจีน (2) ศึกษาสมรรถนะครูสอนภาษาจีน และ (3) เสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูสอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ดำเนินการวิจัยโดยใช้แบบสอบถามซึ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ข้าราชการครูผู้รับผิดชอบสอนภาษาจีนชั้นมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี-ระยอง และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา จำนวน 102 คน จาก 79 โรงเรียน ซึ่งใช้วิธีเลือกแบบเจาะจงจากรายชื่อครูทั้งหมด ประกอบกับการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิการพัฒนาสมรรถนะครูสอนภาษาจีน โดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (percentage) คะแนนเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัญหาการพัฒนาสมรรถนะครูสอนภาษาจีนอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาของครูที่พบ ได้แก่ สมรรถนะด้านภาษาอังกฤษ ทักษะในศตวรรษที่ 21 การใช้เทคโนโลยีเพื่อการสอน การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ การพานักเรียนไปศึกษาในสถานประกอบการ การวิจัยสร้างนวัตกรรมในการแก้ปัญหานักเรียน และครูต้องทำงานด้านอื่นนอกเหนือจากการสอนมาก ในส่วนของสมรรถนะครูสอนภาษาจีนพบว่า ด้านจริยธรรม และจรรยาบรรณครู การพัฒนาผู้เรียน จิตวิทยา ศาสตร์การสอน ภาษาศาสตร์ ทักษะการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน อยู่ในระดับมาก ส่วนสมรรถนะด้านความสัมพันธ์กับชุมชนเพื่อจัดการเรียนรู้ และความรู้ความสามารถทั่วไปของครูอยู่ในระดับปานกลาง สุดท้ายแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูสอนภาษาจีนประกอบด้วย 1) พัฒนาครูให้มีความรู้และเข้าใจธุรกิจอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC 2) ส่งเสริมให้ผู้เรียนจัดทำโครงงานด้านธุรกิจการค้าเพื่อใช้ทักษะทางภาษาจีนได้มากขึ้น 3) ส่วเสริมครูภาษาจีนที่ดีมีจรรยาบรรณ 4) พัฒนาหลักสูตรวิถีชีวิตผู้ประกอบการในชุมชน 5) พัฒนาสมรรถนะสร้างนวัตกรรมและปรับเปลี่ยนการสอนแนวใหม่ 6) พัฒนาทักษะด้านจิตวิทยาและสร้างกำลังใจให้ผู้เรียนในการเรียนภาษา 7) อบรมพัฒนาการสอนเพื่อให้ผู้เรียนนำผลการเรียนรู้ไปใช้ในการสื่อสารได้ 3.8) ส่งเสริมครูให้ใช้การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนได้  This research was aimed to 1) determine the problematic issues regarding competencies development of Chinese language teachers, 2) determine the competencies of Chinese language teachers, and 3) proposes guidelines for competencies development for Chinese language teachers in secondary schools in the Eastern Economics Corridor (EEC) Area. The study involved 102 Chinese language teachers under the Secondary Educational Service Area Office in Chonburi-Rayong, and Chachoengsao province. The methodologies was divided into 2 parts (1) surveying with questionnaires and (2) interviewing in a focus group discussion with the professional experts. The Statistic data used in analyses included percentage, mean, standard deviation, and overall content analysis. The findings of the study were the following. Firstly, the problematic issues in competencies development for Chinese language teachers is considered moderately challenging. The challenges include their English language skills, skills needed in the 21st Century such as applying technologies in their classes, building a learning community, taking their students to real workplaces, lack of innovations in solving problems regarding their students, and having to work too many irrelevant tasks in addition to teaching.   In addition, Competencies of Chinese language teachers regarding the codes of ethics of teachers, student development, psychology, arts of teaching, linguistics, and research methodologies for student development are at a high level. Competencies regarding community relations to conduct a learning environment and their general competencies are in the middle level. Finally, Guidelines to improve the competencies of Chinese language teachers were suggested as follows. 1)Enhance the awareness and comprehension of industrial businesses in the EEC area in teachers 2) Encourage students to conduct a case study projects regarding trading business to improve their Chinese language skills 3) Encourage teachers to be precedent, moral, and ethical role model for students 4) Develop courses for local entrepreneurs 5) Improve performances in innovations and changes in ways of teaching 6) Adapt knowledges in psychology and give moral support to students 7) Encourage students to communicate by applying their lessons  8) Allow teachers to conduct researches in classes in order to improve the performance of their students.

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถานการณ์ท่องเที่ยวปี 2562. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.mots.go.th/download/article/article_20201104090605.pdf.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อให้ตอบสนองกับการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2562). การสนทนากลุ่ม: เทคนิคการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ. วารสาร มสธ., 12(1), 17-30.

ครองขวัญ รอดหมวน. (2562). อีอีซีบูมเศรษฐกิจภาคตะวันออก. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.thaipost.net/main/detail/ 25873read_meta=%7B%22label%22%3A%22articlepage_number3%22%2C%22group%22%3A%22%22%7D.

ทวี ธีระวงศ์เสรี. (2552). หลักสูตรและการเรียนการสอนภาษาจีนในระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญญารัตน์ มะลาศรี. (2563). การศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาจีน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารราชภัฎกรุงเก่า, 7(1), 33-39.

นิวัตต์ น้อยมณี และกัญภร เอี่ยมพญา. (2560). จิตวิญญาณครู (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: 21 เซนจูรี่.

นพดล จันทร์กระจ่างแจ้ง, ยุภาพร นอกเมือง และอรรคภณ วชิรวัชร์. (2565). สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ภาษาของครู ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแผนการเรียนภาษาจีนในโรงเรียนพื้นที่จังหวัดปทุมธานี. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 16(1).

ปาริชาต บัวเป็ง. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงาน บริษัท ไดกิ้น อันดัสทรีส์ ประเทศไทย (จำกัด) (ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ และคณะ. (2561). การพัฒนากลไกขับเคลื่อนระบบการผลิตและพัฒนาครูสมรรถนะสูงสำหรับประเทศไทย 4.0. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

พิชัย แก้วบุตร. (2564). ความต้องการจำเป็นของครูอาสาสมัครจีนต่อวิทยากรฝ่ายไทย: กรณีศึกษาโครงการอบรมครูอาสาสมัครจีน (ประเทศไทย) ประจำปี 2562. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 9(1), 65-81.

ไพศาล สุขใจรุ่งวัฒนา และ ยุวดี ถิรธราดล. (2564). สมรรถนะภาษาจีนที่คาดหวังของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนวิชาภาษาจีนในมหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี,15(2), 163-175.

วรรณณิษา ไวยฉายี. (2564). การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในสถานการณ์ปัจจุบัน: มุมมองของผู้เรียนต่อการพัฒนาสถาบันสอนภาษา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 16(1), 153-165.

วิภาวรรณ จันทร์ประชุม และ ประสพชัย พสุนนท์. (2561). การวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารงานของสมาคมการค้า กระทรวงพาณิชย์ตามหลักระบบบริหารงานและประเมินผลทั่วทั้งองค์กร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(ฉบับพิเศษ), 101-116.

วิภาวรรณ สุนทรจามร. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับชั้นมัธยมศึกษาของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

วัลภา พงษ์พันธุ์. (2558). การส่งเสริมสมรรถนะของครูสอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก (ดุษฎีนิพนธ์). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา

สุมิตรา สุรรัตน์เดชา. (2557). การศึกษาปัญหา ความจำเป็น และความต้องการในการใช้ภาษาและวัฒนธรรมไทยของครูอาสาสมัครชาวจีนในโรงเรียนไทย. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 33(1), 57-79.

สุไม บิลไบ. (2558). สมรรถนะ ทักษะและบทบาทครูไทนในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2564. เข้าถึงได้จาก https://rb.gy/ru3745

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561). แผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2560-2565. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2564. จาก https://eeco.or.th/th/ filedownload/1478/cf4092afd2456bb1f03995574db27a75.pdf

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2562). ราชกิจจานุเบกษาประกาศรายละเอียดของมาตรฐานความรู้และมาตรฐานวิชาชีพครูตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพฉบับที่ 4. สืบเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564. เข้าถึงได้จาก www.ksp.or.th/ksp2018/2020/06/19628/.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). การพัฒนากลไกการขับเคลื่อนระบบการผลิตครูและพัฒนาครูสมรรถนะสูงสำหรับประเทศไทย 4.0. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

โสรญา พิกุลหอม. (2561). ความต้องการแรงงานไทยในเขตพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ. 2561-2570). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

อนุชิดา ชินศิรประภา. (2564). ผลกระทบโควิด 19 กับเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวภาคตะวันออก. วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม, 3(2), 1-4.

Scott, J. (1990). A Matter of Record, Documentary Sources in Social Research. Cambridge: Polity Press.

Ying Lan Hua. (2018). The core competencies for Chinese language teachers in Taiwan: A multiple criteria decision making approach. Ed. D., University of Missouri-St Louis, USA.

Additional Files

Published

2023-06-15

Issue

Section

Articles