ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1
Factors Affecting Academic Administration of School Under the Chonburi Primary Education Service Area Office 1
Keywords:
ปัจจัยที่ส่งผล, การบริหารงานวิชาการ, สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1, Factors affecting, Academic Administration, Chonburi Primary Education Service Area Office 1Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านครู และปัจจัยด้านชุมชน ที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน 2) ศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านครู และปัจจัยด้านชุมชนที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน 4) สร้างสมการณ์พยากรณ์การบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 จำนวน 292 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับได้แก่ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านผู้บริหาร มีค่า 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านครู 3) แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านชุมชน 4) แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s correlation coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านครู และปัจจัยด้านชุมชนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) การบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) สมการพยากรณ์การบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 1 ได้ร้อยละ 64.30 สามารถสร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ Ŷ = .95 + .29X1+ .17X8 + .15X3 + .10X5 + .10X2 ẑ = .37Z1 + .33Z8 + .19Z3 + .13 Z5+ .12Z2 The purposes of this research were: 1) to study the factors of administrators, the factors of teachers, and the factors of communities that affects the academic administration of school, 2) to study the level of the academic administration of school 3) to study the relationship among the factors of administrators, the factors of teachers, and the factors of communities 4) to create the equation that could predict the academic administration of school under the Chonburi primary education service area office 1. The total of a selected sample were 292 people. The instruments were used for collecting data was a five-rating scale questionnaire. The research instruments were: 1) the factors of administrators, 2) the factors of teachers, 3) the factors of administrators, and 4) the academic administration of school. The data were analyzed by a computer program; using Mean, Standard Deviation, Pearson’s correlation, and Stepwise multiple regression. The findings were as follows: 1) The factors of administrators, the factors of teachers, and the factors of communities in school under the Chonburi primary education service area office 1 overall and in each aspect were at a high level. 2) the level of factors influencing academic administration of school under the Chonburi primary education service area office 1 overall and in each aspect were at a high level. 3) the factors influencing academic administration related to and the academic administration of school under the Chonburi primary education service area office 1 with statistically significant at the level of .01, and 4) academic administration of school under the Chonburi primary education service area office 1 was 64.30% accurate and the regression equations of points in the form of standard score as follow: Ŷ = .95 + .29X1+ .17X8 + .15X3 + .10X5 + .10X2 ẑ = .37Z1 + .33Z8 + .19Z3 + .13 Z5+ .12Z2References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา. เข้าถึงได้จาก http://backoffice.onec.go.th/uploaded/Category/ Laws/RuleMetDistEdMnt 2550-02-12-2010.pdf
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. เข้าถึงได้จาก http://regu.tu.ac.th/quesdata /Data/ L32.PDF
เกษแก้ว เจริญเกตุ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน จังหวัดสิงห์บุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยลัยบูรพา.
คณนันท์ พฤทธสาโรช. (2558). รูปแบบของปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
จุฑารัตน์ ขาวกริบ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
ปรารถนา แสงคำ. (2562). ปัจจัยส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาในกลุ่มตากสินสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยลัยบูรพา.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2535). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: สหมิตรออฟเซท.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
ปิยธิดา ทาปลัด. (2561). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนกลุ่มโรงเรียนนิคมพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยลัยบูรพา.
ปิยะพร เขียวอินทร์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยลัยบูรพา.
เพ็ญลักษณ์ ทิมโม (2558) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
วรพล เจริญวัย. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยลัยบูรพา.
วลีรัตน์ ฉิมน้อย. (2562). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาตามแนวคิดคุณลักษณะพลเมืองคุณภาพในศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วีรวิชญ์ อารีสวัสดิ์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเอกชน ระดับประถมศึกษาของจังหวัดเชียงใหม่ในความปกติใหม่. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ศสิกรณ์ ศรีเขาล้าน. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยลัยบูรพา.
สมุทร ชำนาญ. (2553). ภาวะผู้นำทางการศึกษา: ทฤษฎีและปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ระยอง: บี.อาร์. การพิมพ์.
สาริศา จันทร์แรม. (2562). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออก. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.
สาริศา จันทร์แรม. (2562). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออก. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 1. (2563). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563. เข้าถึงได้จาก http://www.chon1.go.th/web/ita/o10/
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สุกัญญา นิ่มพันธุ์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สุชาดา ถาวรชาติ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
อาฑิฏิยา โชคดีวัฒนา. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยลัยบูรพา.
Alig-Mielcarek, Jana M. & Hoy, W. K. (2005). A Thoeretical and Empirical Analysis of The Nature, Meaning, and Influence of Instructional Leadership: The Ohio State University. Retrieved from http://72.14.235.104/search? q=cache:P2iwpAZ4GAwJ:www.coe.ohio-state.edu.
Blase, J., & Blasé, J. (1999). Principals’ instructional leadership and teacher development: teachers’ perspective. Educational Administration Quarterly, 35(3), 349-378.
Chell, J. (2001). Introducing principals to the role of instructional leadership: A summary of a master’s project by Jan Chell. from http://www.ssta.sk. ca/research/leadership/95-14.htm
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-609.
Lashway, M. (2002). Blended learning and sense of community: a comparative analysis with traditional and fully online graduate course. Retrieved from http://www.irrodl.org/content/v5.2/rovai-jordan.html
Likert, R. (1967). The human organization: Is management and value. New York: McGraw-Hill.
Weller, L. D. (1999). Quality middle school leadership. Georgia; Technomic.