ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับรูปแบบการแก้ปัญหาความขัดแย้งของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา The Relationships between Emotional Intelligence and Burapha University Students’ Conflict Resolution Styles

Authors

  • บงกช นักเสียง

Keywords:

ความขัดแย้ง, รูปแบบการแก้ปัญหาความขัดแย้ง, ความฉลาดทางอารมณ์ Conflict, The styles of conflict resolution, Emotional Intelligence

Abstract

บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ เพศ ชั้นปี คณะกับรูปแบบการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความฉลาดทางอารมณ์ตามเพศ ชั้นปี คณะ และรูปแบบการแก้ปัญหาความขัดแย้งของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา ระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตบางแสน จังหวัดชลบุรี จำนวน 684 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ คือแบบวัดความฉลาดทางอารมณ์และแบบวัดรูปแบบการแก้ปัญหาความขัดแย้งวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ t-test เพียร์สัน ไคสแควร์ (X2) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี Least-Significant Difference (LSD)ผลการวิจัย พบว่า ความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับรูปแบบการแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนเพศ ชั้นปี และคณะ ไม่พบความสัมพันธ์กับรูปแบบการแก้ปัญหาความขัดแย้ง นอกจากนี้นิสิตที่มีเพศและคณะแตกต่างกันมีความฉลาดทางอารมณ์ที่แตกต่างกัน ในขณะที่ชั้นปีที่แตกต่างกัน มีความฉลาดทางอารมณ์ไม่แตกต่างกัน และในการแก้ปัญหาความขัดแย้งนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพาเลือกรูปแบบการแก้ปัญหาความขัดแย้งแบบร่วมมือ AbstractThe purposes of this research were to investigate the relationshipbetween emotional intelligence gender, academic year, faculty and BuraphaUniversity students’ conflict resolution styles, Chon Buri campus. It aimedto study emotional intelligence in terms of gender, academic year, faculty,and the style of conflict resolution. The participants of this study were 684undergraduate students from Burapha University, Chon Buri campus. Theinstruments were 1) the Emotional Intelligence inventory test 2) the ConflictStyles test. Data were analyzed by frequency, t-test, Pearson Chi-square(X2), and One-way Anova designs followed by post hoc multiple comparisonswith Least-Significant Difference (LSD). The results are as follows:There was a correlation between emotional intelligence and conflictresolution styles. However, different genders, academic years and facultiesrevealed no correlation with conflict resolution styles. The undergraduatestudents of different genders and faculties displayed significant differencein emotional intelligence, but different academic years had no significantemotional intelligence differences. The undergraduate students chosecollaborating style.

Downloads