ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต: การสังเคราะห์กรอบแนวคิด “ลักษณะการยืมคำในภาษาไทย”
The Pali and Sanskrit Languages: A Synthesis of “Loan Words in the Thai Language” Conceptual Frameworks
Keywords:
ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต, การสังเคราะห์, ลักษณะการยืมคำ, Pali and Sanskrit, Synthesis, Loan Word PhenomenonAbstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์กรอบแนวคิดลักษณะการยืมคำภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตในภาษาไทยโดยใช้ระเบียบการวิเคราะห์งานทางวิชาการจากหนังสือ จำนวน 3 เล่ม ซึ่งเป็นผลงานทางวิชาการที่เรียบเรียงขึ้นโดยมีรากฐานทางวิชาการที่มั่นคง และได้ให้ทัศนะของผู้เขียนที่สร้างเสริมปัญญาความคิด มีการอ้างอิงที่ครบถ้วนสมบูรณ์ มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในวงกว้าง ผลการวิจัยพบกรอบแนวคิดรวมลักษณะการยืมคำภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตในภาษาไทย คือ 1) การยืมคำจากภาษาใดภาษาหนึ่ง แบ่งออกได้เป็นการยืมคำจากภาษาสันสกฤต การยืมคำจากภาษาบาลี และยืมคำจากภาษาสันสกฤตแต่ใช้ความหมายของภาษาบาลี 2) การยืมคำจากทั้ง 2 ภาษา แบ่งออกเป็นการยืมคำในภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตที่มีรูปคำและความหมายเหมือนกัน และการยืมคำในภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตที่มีรูปคำต่างกันแต่ความหมายเหมือนกัน และ 3) การยืมคำจากภาษาใดภาษาหนึ่งหรือจากทั้ง 2 ภาษามาใช้โดยแบ่งออกเป็น การยืมคำมาแล้วประดิษฐ์รูปศัพท์โดยผสมรูปสันสกฤตกับรูปบาลีหรือสร้างรูปศัพท์ใหม่ และการยืมคำจากทั้งสองภาษามาแล้วนำมาใช้เป็นคำหลายคำในภาษาไทย This paper aims at synthesizing conceptual frameworks of Pali and Sanskrit loan words in the Thai language. It relies on an analysis of three books that are academically solid, provide intellectually stimulating perspectives, consist of comprehensive references and widely publicized. The findings reveals three forms of loan words: 1) loan words from one of the two languages, which can be divided into words loaned from Pali, words loaned from Sanskrit, and words that used Sanskrit spellings but adopted Pali meanings; 2) words borrowed from both languages, including those with similar in both spellings and meanings, and those with different spellings but similar meanings; and 3) words loaned from either or both languages, which consist of the combination of Bali and Sanskrit words or the formation of new words and the adaptation of Pali and Sanskrit words to coin new words in the Thai language.References
กชพรรณ ยังมี, จิราพัทธ์ แก้วศรีทอง, วราภรณ์ มามี, วิมล ทองดอนกลิ้ง และอุษา อินทร์ประสิทธิ์. (2559). การสังเคราะห์ผลงานวิชาการที่ตีพิมพ์ในวานสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร ระหว่างปี 2553-2557. วารสารวิชาการ AJNU ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 7(2), 180-190.
ชัยณรงค์ นพศิริ. (2559). รายงานการวิจัยเรื่อง การสังเคราะห์บทความเชิงปกิณกะเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตของฝ่ายบริการเผยแพร่ทางไกล สำนักการศึกษาต่อเนื่อง. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นริสรา พึ่งโพธิ์สภ. (2560). สถานภาพ ช่องว่างความรู้ และทิศทางของบทความวิจัยด้านพฤติกรรมศาสตร์: การสังเคราะห์บทความวิจัยในวารสารพฤติกรรมศาสตร์. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 23(2), 1-22.
บรรจบ พันธุเมธา. (2523). บาลีสันสกฤตในภาษาไทย. ฝ่ายตำราและอุปกรณ์การศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
บุญเหลือ ใจมโน. (2556). ภาษาบาลีสันสกฤตในภาษาไทย. แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
ปัทวี สัตยวงศ์ทิพย์, รุ่งนภา เหลียง และสถาพร ไปเหนือ. (2564). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ในภาคตะวันออกระหว่างปี พ.ศ. 2541-2560. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 29(2), 104-134.
ปรีชา ทิชินพงศ์. (2534). บาลี-สันสกฤตที่เกี่ยวกับภาษาไทย. โอเดียนสโตร์.
พัฒน์ เพ็งผลา. (2543). บาลีสันสกฤตในภาษาไทย. ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เพชราภรณ์ เฮมกลาง และสุมาลี ชัยเจริญ. (2560). การสังเคราะห์กรอบแนวคิดการออกแบบของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง โครงสร้างโลกของเรา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 1-18.
วรลักษณ์ พับบรรจง. (2532). ภาษาบาลีสันสกฤตที่เกี่ยวกับภาษาไทย. ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้.
วัลยา ช้างขวัญยืน และคณะ. (2553). บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 2: คำ การสร้างคำ และการยืมคำ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
วาริด เจริญราษฎร์. (2555). การลากเข้าความ: กลวิธีการนำบาลีสันสกฤตมาใช้ในภาษาไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 7(15), 72-74.
วิไลพร อาจมนตรี, ธนวัฒน์ พิมลจิดา และสุรเมศวร์ พิริยะวัฒน์. (2559). การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการสร้างเขื่อนในประเทศไทย. วารสารชุมชนวิจัย, 10(2), 51-60.
วิสันติ์ กฎแก้ว. (2545). ภาษาบาลีสันสกฤตที่เกี่ยวข้องกับภาษาไทย. พัฒนาศึกษา.
ศราวุธ หล่อดี. (2557). คำยืมภาษาสันสกฤตในนิทานเวตาล. สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา.
สยาม ภัทรานุประวัติ. (2550). ภาษาบาลีและสันสกฤตในภาษาไทย. ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สัญญา เคณาภูมิ. (2562). หลักการและแนวทางการสังเคราะห์งานวิชาการ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 3(2), 89-106.
สาโรจน์ บัวพันธุ์งาม. (2558). เอกสารประกอบการสอน กระบวนวิชา (014211) ภาษาบาลีและสันสกฤตในภาษาไทย. ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2517). บาลี-สันสกฤตที่สัมพันธ์กับภาษาไทย. ไทยวัฒนาพานิช.
สุนทรา โตบัว. (2555). การสังเคราะห์งานวิจัยที่ได้รับทุนวิจัยจากภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ภาควิชาการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุวนันท์ ลี้ปราศภัย. (2562). คำสมาสในหนังสือคำไทยที่มาจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต. ในการศึกษาค้นคว้ารายวิชา 228492. ภาควิชาภาษาไทย, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
อดุลย์ คนแรง. (2557). การเปลี่ยนแปลงความหมายของคำบาลีสันสกฤตในภาษาไทย. https://www.mcu.ac.th/article/detail/371
อภิชาญ ปานเจริญ. (2559). บาลีสันกฤตในภาษาไทย. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.