พฤติกรรมการใช้บริการรับส่งอาหารผ่าน โอ้โห เดลิเวอรี่ แอปพลิเคชันของผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี

Consumer Behavior towards Food Delivery Services on the Oho Delivery Application in Chonburi

Authors

  • ตวงลาภ เปี่ยมอยู่สุข
  • นัทธ์หทัย ทองนะ

Keywords:

ธุรกิจเดลิเวอรี่อาหาร, บางแสน, พฤติกรรมผู้บริโภค, กลยุทธ์การตลาด, Food Delivery Business, Bangsaen, Consumer Behavior, Marketing Strategy

Abstract

วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้เพื่อวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมการใช้บริการรับส่งอาหารของผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรีผ่าน โอ้โห เดลิเวอรี่ แอปพลิเคชัน และเพื่อประเมินประสิทธิภาพของกลยุทธ์การตลาดของ โอ้โห เดลิเวอรี่ ผู้ประกอบการด้านรับส่งอาหารที่มีต่อผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี โดยวิเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิของบริษัท ดิ โอ้โห กรุ๊ป จำกัด ตั้งแต่เดือนเมษายน 2565 - มีนาคม 2566 ผลวิจัยพบว่า รูปแบบพฤติกรรมการใช้สื่อเฟซบุ๊กเพจเป็นช่องทางหลักในการเข้าถึงบริการ โอ้โห เดลิเวอรี่ แอปพลิเคชัน ของกลุ่มลูกค้าโดยมีจำนวนคนกดชื่นชอบ 39,190 คน และมีจำนวนการเข้าเยี่ยมชม 8,189 คน เป็นเพศหญิง ช่วงอายุ 25–34 ปี คิดเป็นร้อยละ 76.7 อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี ในเรื่องรูปแบบพฤติกรรมการใช้บริการรับส่งอาหารผ่าน โอ้โห เดลิเวอรี่ แอปพลิเคชันพบว่า ลูกค้าส่วนใหญ่นิยมสั่งอาหารประเภทอาหารแบบสบาย ๆ ร้านอาหารในเครือหรือร้านที่มีผู้ประกอบการเป็นเจ้าของ เช่น อาหารไทย อาหารจีน อาหารญี่ปุ่น มีค่าใช้จ่ายต่อมื้อไม่เกิน 500 บาท ภายในระยะทาง 0-2.99 กิโลเมตร และช่วงเวลาที่สั่งอาหาร ได้แก่ มื้อกลางวัน (11.00-16.59 น.) กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์ด้านราคา และกลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการขายเป็นการใช้กลยุทธ์ที่ทำให้ยอดสั่งซื้อเพิ่มมากขึ้น  The purposes of this research were to analyze consumer behaviors towards food delivery services via the OHO Delivery application in Chonburi province and to evaluate the effectiveness of the marketing strategies of the food delivery business of the OHO Delivery application among consumers in Chonburi province. The primary data based on the OHO Group Co., Ltd. during April 2022 to March 2023 were analyzed. The research findings revealed that Facebook Page was the key channel for the OHO Delivery application to reach customers. There were 39,190 Facebook Page likes and 8,189 visits. Most visitors were females aged 25-34 years, of which 76.7 percent lived in Chonburi province. Regarding the consumer behavior towards food delivery services on the OHO Delivery application, the data revealed that most customers preferred ordering casual food with a cost of not more than 500 baht per meal. The food delivery distance was about of 0-2.99 kilometers; and the popular time to order food was lunch time (11.00-16.59 p.m.). The top three effective marketing strategies of the OHO Group Co., Ltd. in increasing the number of orders were the strategies of product, price and sales promotion.

References

กนกรัตน์ พิชญานุพงศ์. (2548). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้ออาหารเสริมเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. [วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์].

กมลวรรณ วนิชพันธุ์. (2556). รูปแบบการดำเนินชีวิตลักษณะบุคลิกภาพของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอร์เรชั่น X และผู้บริโภคเจเนอร์เรชั่น Y ในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านทางออนไลน์. [การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ].

จิรัฏฐ์ เพ่งเจริญธรรม. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริโภคกับการตัดสินใจซื้ออาหารเกาหลีของผู้บริโภคร้านสุเพียร์ในเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร].

ชเนศ ลักษณ์พันธุ์ภักดี. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. [การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

ทวีพร ทวีสุข. (2565). แนวทางพัฒนากลยุทธ์การตลาดสำหรับการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันของกลุ่มผู้บริโภคนอกเขตกรุงเทพและปริมณฑล. [วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล].

ธนรัตน์ ศรีสำอางค์. (2558). พฤติกรรมผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครต่อการใช้บริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านเว็บไซต์. [การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].

นุช สิงห์แก้ว. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารผ่านสื่อออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/mlw12/6114961018.pdf

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด. (2562). การเติบโตของตลาดฟู้ด เดลิเวอรี่. https://www.posttoday.com/finance-stock/columnist/602101

ปุญญภพ ตันติปิฎก และภัทรพล ยุทธศักดิ์นุกูล. (2563). อินไซด์ธุรกิจ Food Delivery: เดินหน้าขยายตลาดพร้อมบริการที่หลากหลาย. https://www.scbeic.com/th/detail/file/product/7906/g3uws6soy7/ EIC_Note_Food-delivery_20211102.pdf

พิมพุมผกา บุญธนาพีรัชต์. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ Food Delivery ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. [การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์].

ศรานนท์ โตบุญมา และณัฐวัฒน์ กุณาหล่าย. (2562). พฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บริการ Food Delivery. [รายงานวิจัย]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุขุมาภรณ์ ปานมาก. (2560). การตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารแบบส่งถึงที่ของผู้บริโภคจังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา].

สุดารัตน์ สิริมหาวงศ์, สุวนันท์ คงใหม่ และฐิติพร สำราญศาสตร์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจสั่งซื้ออาหารผ่านแอพพลิเคชั่น LINE MAN เขตพระโขนง ในกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ สังคมศาสตร์วิชาการครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย “สังคมพหุวัฒนธรรมภายใต้กระแสการเปลี่ยนผ่านสู่ยุค Thailand 4.0” (หน้า 620-629). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

Hossain, F., & Adelaja, A. O. (2000). Consumers’ interest in alternative food delivery systems: Results from a consumer survey in New Jersey. Journal of Food Distribution Research, 31(2), 49-67.

Kotler, P. (1997). Marketing management: Analysis, planning, implementation and control (9th ed). A Simon & Schuster Company.

Today Bizview. (2565). ฟู้ดเดลิเวอรี่ ธุรกิจที่ยังไม่มีใครทำกำไร. https://workpointtoday.com/food-delivery-platform-loss

Downloads

Published

2023-09-19