ชื่อยาสมุนไพรไทใหญ่ที่ปรากฏในตำรายาสมุนไพรไทใหญ่ในล้านนา: ที่มา ความเชื่อ และเภสัชวัตถุ

Names of Tai Yai Herbal Medicine in Tai Yai Folk Medicine in Lanna: Origin, Belief and Pharmaceutical Substances

Authors

  • พรรณิดา ขันธพัทธ์

Keywords:

ชื่อ, ยาสมุนไพร, ไทใหญ่, ที่มา, ความเชื่อ, Names, Herbal Medicine, Tai Yai, Origin, Belief

Abstract

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาที่มาของชื่อยาสมุนไพรของไทใหญ่และความเชื่อในหนังสือ “ตำรายาสมุนไพรไทใหญ่ในล้านนา เล่ม 1 และเล่ม 2” จากการศึกษาพบว่า ที่มาของชื่อยาสมุนไพรไทใหญ่ มี 9 ประเภท ได้แก่ 1) ยาที่ตั้งชื่อเป็นชื่อเฉพาะ 2) ยาที่ตั้งชื่อตามสรรพคุณของยา 3) ยาที่ตั้งชื่อตามอาการหรือสาเหตุของโรค 4) ยาที่ตั้งชื่อตามประเภทของยาและสรรพคุณยา 5) ยาที่ตั้งชื่อตามประเภทของยา 6) ยาที่ตั้งชื่อตามกลุ่มผู้ใช้ยา 7) ยาที่ตั้งชื่อตามอาการของโรคและเป็นชื่อเฉพาะ 8) ยาที่ตั้งชื่อตามส่วนประกอบหลักของยา และ 9) ยาที่ตั้งชื่อตามอาการของโรคและส่วนประกอบหลักของยา ทางด้านความเชื่อ จากการศึกษาพบความเชื่อ 16 ประการ ได้แก่ 1) เรื่องผี 2) เรื่องคุณไสย 3) เรื่องคงกระพัน 4) เรื่องเสน่ห์ 5) เรื่องคาถาอาคมและพิธีกรรม 6) เรื่องการไหว้บูชาครูยา 7) เรื่องบุญของการเป็นหมอยา 8) เรื่องการเก็บยา 9) เรื่องชะตากับเคราะห์กรรมและการถือศีลทำบุญ 10) เรื่องธาตุกับอาการป่วยไข้ 11) เรื่องธาตุและเดือนกับอาการป่วยไข้ 12) เรื่องทิศกับฤทธิ์ยา 13) เรื่องทิศกับการไปรักษาผู้ป่วย 14) เรื่องตัวเลข “3 5 7” 15) เรื่องการใช้ยา และ 16) เรื่องหมอชีวก สำหรับเภสัชวัตถุที่พบในตำรายา ได้แก่ พืชวัตถุ สัตว์วัตถุ มนุษย์วัตถุ ธาตุวัตถุ และเภสัชวัตถุอื่น ๆ  This research examines the origins of the names of herbal medicines and beliefs appearing in the Books on the Herbal Medicines of Tai Yai in Lanna 1 and 2 by the Social Research Institute, Chiang Mai University and the School of Health Science, Mae Fah Luang University. The study found that the names of these herbal medicines originated from nine sources: 1) proper names; 2) medicinal properties; 3) symptoms or causes of diseases; 4) types of medicines and medicinal properties; 5) types of medicines; 6) groups of patients; 7) symptoms of diseases, which are proper names; 8) main ingredients; and 9) symptoms of diseases and main ingredients. In addition, the research study found that the beliefs are around sixteen areas including: 1) spirits; 2) superstitions; 3) immortality; 4) charm; 5) incantation and rituals; 6) showing respect for folk healers; 7) merit of being folk healers; 8) storage of medicines; 9) fate, misfortune, observation of precepts, and merit making; 10) elements and sickness; 11) elements and months and sickness; 12) directions and action of drugs; 13) directions and treatment of patients; 14) numbers 3, 5 and 7; 15) medicine use; and 16) hermit doctor Cheewaka Komarapach. Regarding the pharmaceutical substances, they were classified into five categories which are plant-based, animal-based, human-based, mineral, and other pharmaceutical substances.

References

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (2550). ยากับชุมชน. สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ.

ไพฑูรย์ ดอกบัวแก้ว และไชยยง รุจจนเวท (บรรณาธิการ). (2550). ตำรายาสมุนไพรของไทใหญ่ในล้านนา เล่ม 1. โรงพิมพ์มิ่งเมือง.

ไพฑูรย์ ดอกบัวแก้ว และไชยยง รุจจนเวท (บรรณาธิการ). (2551). ตำรายาสมุนไพรของไทใหญ่ในล้านนา เล่ม 2. โรงพิมพ์มิ่งเมือง.

รุ่งอรุณ ทีฆชุณหเถียร. (2550). ตำรายาพื้นบ้านล้านนา: การศึกษาท่วงทำนองการเขียน. ศูนย์ส่งเสริมการวิจัยในภูมิภาคเอเชียของมูลนิธิเกาหลีเพื่อการศึกษาขั้นสูง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เรณู วิชาศิลป์. (2546). ภาษาไทใหญ่ (ลิ่กไต-กวามไต). ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สายสม ธรรมธิ. (2538). ลายสักไทใหญ่. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เอมอร ตรีชั้น. (2528). การศึกษาด้านภาษาและคติความเชื่อในตำรายาแผนโบราณจากสมุดไทยของจังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร. [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร].

Downloads

Published

2023-09-19