ที่มาของแรงงานพม่าในประเทศไทย

The Sources of Migrant Workers from Myanmar in Thailand

Authors

  • ศิพิมพ์ ศรบัลลังก์
  • สุรชาติ บำรุงสุข

Keywords:

การย้ายถิ่นของแรงงาน, แรงงานต่างด้าวพม่า

Abstract

บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่มาของแรงงานอพยพสัญชาติพม่าในประเทศไทย เนื่องจากไทยเป็นประเทศปลายทางที่สำคัญของแรงงานอพยพข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา และพม่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานอพยพจากประเทศพม่าที่มีจำนวนมากที่สุด ซึ่งกระจัดกระจายทั่วประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตด้านเวลาในการศึกษา นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๕ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๓๕-๒๕๕๔) เห็นได้จากในช่วงทศวรรษที่ ๒๕๓๐ นั้นตรงกับช่วงทศวรรษ ๑๙๙๐ ที่ประเด็นความมั่นคงใหม่เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น ขณะเดียวกันในช่วงเวลาดังกล่าวรัฐไทยต้องการที่จะพัฒนาตนเอง ให้กลายเป็นประเทศหนึ่งในกลุ่ม “เสือเศรษฐกิจ” ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้มีความเจริญทางเศรษฐกิจและการจ้างงานอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๙๐ ส่งผลให้มีการนำเข้าแรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่าที่มาของแรงงานอพยพข้ามชาติจากประเทศพม่า มีสาเหตุมาจากสามปัจจัยหลักด้วยกัน ได้แก่ ปัจจัยสภาพทางภูมิศาสตร์ ปัจจัยผลักดันจากประเทศต้นทาง (Push Factors) และปัจจัยดึงดูดในประเทศปลายทาง (Pull Factors) โดยปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูดที่นำไปสู่กระแสการหลั่งไหล เข้ามาทำงานในประเทศไทย ของแรงงานอพยพสัญชาติพม่านั้น ได้แก่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เห็นได้จากปัญหาเศรษฐกิจที่ตกต่ำในพม่า ตลอดจนความไม่สงบทางการเมือง และปัญหาทางสังคมในพม่า ต่างก็รุมเร้าและผลักดันให้ผู้คนในประเทศพม่าดิ้นรนเพื่อแสวงหาหนทาง ในการดำรงชีวิตที่ดีกว่า ขณะเดียวกันการที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างไทยมีสภาพทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมที่ดีกว่า ย่อมเป็นปัจจัยดึงดูดที่ส่งผลให้ผู้คนในพม่าตัดสินใจย้ายถิ่นเข้าสู่ประเทศไทย ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ปกติที่คนเราจะย้ายถิ่นจากที่ ซึ่งมีโอกาสน้อยกว่าไปยังที่ซึ่งมีโอกาสมากกว่า  The purpose of this article is to study the sources of migration of workers from Myanmar into Thailand, since Thailand is an important destination country for migrant workers from neighbouring countries such as Laos, Cambodia and Myanmar, particularly, workers from Myanmar, who are scattered throughout Thailand in the highest number. In this study, the researcher limits the scope of the study period from 1992 to 2011. This reason is due to the fact that new security issues, during 1990s started to draw widely attention from many scholars. At the same time, it was the period in which the state wanted its economy to rise to the status of the fifth “tiger” in Southeast Asia, leading to accelerated economic growth and rate of employment in the1990s and thereby attracting a large number of migrant workers from neighboring countries. Based on the study, it was found that there are three main sources of migration of workers from Myanmar, namely the geographical factor, push factors in the primary country and pull factors from the secondary country. The push and pull factors of migration of workers from Myanmar into Thailand are multidimensional-roughly divided into economic, political and social dimensions. As shown in more details in the article, the economic slump, political unrest and social ills in Myanmar all work as factors pushing the people of Myanmar to struggle to survive and search for a better life. Meanwhile, better economic, political and social conditions in a neighboring country likes Thailand all contribute as factors pulling the people of Myanmar into Thailand, as it is normal for people to migrate from a place with fewer opportunities to one that is more promising.

Downloads

Published

2024-04-21