พันธมิตรความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชน (Public Private Partnership) เพื่อการพัฒนาระบบการบริหารจัดการของประเทศ : กรณีศึกษาการพัฒนาระบบ e-Government ของประเทศไทย
Public Private Partnership for the strategic implementation of information system for national administration: Case study of e-Government development of Thailand
Keywords:
การบริหารรัฐกิจ, ความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลและเอกชน, อินเตอร์เน็ตในการบริหารรัฐกิจ, ไทยAbstract
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารประเทศในหลายมิติ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ดเนินการวิจัยโดยนำเอาแนวคิดทฤษฎีทางด้านการบริหารจัดการสาขารัฐประศาสนศาสตร์เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะและทฤษฎีองค์การมาหลอมรวมกับแนวคิดการกระจายอำนาจการบริหารสู่ท้องถิ่น ผนวกกับการทบทวนบทความทางวิชาการและบทความที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบสารสนเทศภาครัฐ และวิเคราะห์เปรียบเทียบกับยุทธศาสตร์ของประเทศที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นําในการพัฒนาระบบสารสนเทศภาครัฐ (c-Government) แล้วจึงนำผลวิจัยเบื้องต้นมาวิเคราะห์ร่วมกับกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๕ และแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๕ จนได้เป็นแนวทางที่สําคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์ คือ การสร้างความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน (Public Private Partnership) การสร้างความสำเร็จให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว (Quick Win) และการเน้นความมีส่วนร่วมในความสำเร็จอย่างมีเอกภาพ (Shared Vision to Shared Success) ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้แนวทางดังกล่าวมากำหนดองค์ประกอบที่สําคัญของยุทธศาสตร์ และได้นำองค์ประกอบสําคัญดังกล่าวมาสังเคราะห์เป็นยุทธศาสตร์ด้วยกรรมวิธีคิดแบบบูรณาการทุกองค์ประกอบเข้าด้วยกัน โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้จริงในทางปฏิบัติ ซึ่งเทียบเคียงจากข้อเท็จจริงที่รวบรวมได้จากการลงสํารวจ ศักยภาพความพร้อม ปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนการทดลองพัฒนาระบบสารสนเทศต้นแบบ เพื่อนำไปใช้งานในพื้นที่จริง รวมถึงมีการดำเนินการในเชิงยุทธวิธีเพื่อก่อให้เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงในระดับบริหารของประเทศจนได้ออกมาเป็นยุทธศาสตร์การนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารประเทศในหลายมิติที่จะช่วยให้บรรลุตามเป้าหมายของการแปลงนโยบายไปสู่การนำประเทศมุ่งไปสู่เศรษฐกิจและสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ต่อไป This qualitative research is aimed at developing the strategic implementation of information system for national administration in multi dimension. The study stems from the Public Administration conceptual framework with regards to Public Policy and Organization Theory blending with the concept of Distribution of Administrative Power to Local Administrators. The research also includes the reviews of related articles and the comparison of implementation strategies from well recognized countries in terms of e-Government development. The preliminary results are then analyzed in accordance with Thailand's Information Technology Policy 2002-2006 and the Information and Communication Technology Master Plan 2002-2006 in order to create the implementation guidelines, namely Public Private Partnership, Quick Win, and Shared Vision to Shared Success. By using these guidelines, the critical apparatus of the strategic implementation are well defined. The researcher has integrated all critical components of the study together to formulate the practical strategic implementation with regard to real readiness, obstacles and system prototype trial in the field along with the selective change initiatives conducted at the top management level. The final research result on the Strategic Implementation of Information System for National Administration in Multi Dimension is formulated to fulfill an objective to take the country toward the knowledge-based economy and society.Downloads
Published
2024-02-15
Issue
Section
Articles