การพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพจากแป้งเมล็ดขนุน

Authors

  • โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล
  • อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์
  • กุลวดี สังข์สนิท
  • สุภา จุฬคุปต์
  • สุทัศนีย์ บุญโญภาส

Keywords:

จุดหลอมเหลว, สมบัติทางความร้อน, พลาสติกชีวภาพ, การอัดขึ้นรูป, แป้งเมล็ดขนุน

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพจากแป้งเมล็ดขนุน โดยศึกษาสูตรที่เหมาะสมในการผลิตพลาสติกชีวภาพจากแป้งเมล็ดขนุน และศึกษาจุดหลอมเหลวของสิ่งทดลองในระดับต่าง ๆ ด้วยเครื่อง Differential Scanning Calorimeter (DSC) เพื่อนำผลที่ได้ ไปอัดขึ้นรูปพลาสติกชีวภาพจากแป้งเมล็ดขนุนด้วยเครื่อง Compression Moldingโดยปัจจัยที่ทางการศึกษา คือ ปริมาณของกลีเซอรีน แปรเป็น 5 ระดับ คือ ร้อยละ 0,25,50,75 และ 100ของน้ำหนักแป้งเมล็ดขนุน ทำการวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) แล้ววิเคราะห์คุณภาพทางด้าน กายภาพและทางเคมี พบว่า ค่าความสว่าง (L*) และค่าความชื้นเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณกลีเซอรีนเพิ่มขึ้นสำหรับการวิเคราะห์ ค่าจุดหลอมเหลวช่วงอุณหภูมิ 20-300๐ ซ พบว่า อุณหภูมิเริ่มเกิดเจลาทิไนเซชัน (To ) เท่ากับ 36.02, 44.99, 26.93, 143.75 และ 137.74๐ ซ ตามลำดับ อุณหภูมิสูงสุดในการเกิดเจลาทิไนเซชัน (Tp ) เท่ากับ 90.09,111.33,118.10,152.57 และ155.80๐ ซ ตามลำดับ อุณหภูมิสุดท้ายของการเกิดเจลาทิไนเซชัน (Tc ) เท่ากับ 136.68, 156.19, 159.57, 166.88 และ 175.78๐ ซ ตามลำดับ และพลังงานในการเกิดเจลาทิไนเซชัน (H) เท่ากับ 256.95, 226.34, 248.07, 124.16 และ 166.45 (J/g) ตามลำดับ ในการอัดขึ้นรูปแผ่นพลาสติกชีวภาพจากแป้งเมล็ดขนุน พบว่า สิ่งทดลองมีความยืดหยุ่นและเกาะตัวเป็นแผ่นดีขึ้นตาม ปริมาณของกลีเซอรีนที่เพิ่มขึ้้นThe aim of this research was to develop bioplastic product from jackfruit seed starch. Suitable formula of bioplastic production was determined by observing the melting points of the mixtures using Differential Scanning Calorimeter (DSC). The results were used in the process of forming bioplastic from jackfruit seed starch by thermoplastic compression molding. The parameters investigated were 5 glycerin concentrations of 0, 25, 50, 75 and 100 percent by weight of jackfruit seed starch. The experimental design employed was Completely Randomized Design (CRD). Physical and chemical analysis found that brightness values (L*) and moisture contents increased with increasing glycerin concentrations. Measurements of melting points between 20 - 300 ๐ C showed that initial gelatinization temperatures (To ) were 36.02, 44.99, 26.93, 143.75 and 137.74 ๐ C, respectively. The Maximum gelatinization temperatures (Tp ) were 90.09, 111.33, 118.10, 152.57 and 155.80 ๐ C, respectively and final gelatinization temperatures (Tc ) were 136.68, 156.19, 159.57, 166.88and175.78 ๐ C, respectively. It was found that enthalpy of gelatinization (H) were 256.95, 226.34, 248.07, 124.16 and 166.45 (J/g), respectively. When forming the bioplastic products from jackfruit seed starch by compression molding, the flexibility and adhesion of plastic sheets were improved with increasing glycerin concentrations.

Downloads