การสำรวจความหลากหลายของนกในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี
Keywords:
ความหลากหลาย, นกAbstract
การสำรวจความหลากหลายของนกในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี ดำเนินการสำรวจระหว่างเดือน เมษายน พ.ศ. 2556 ถึง เดือนเมษายน พ.ศ. 2557 โดยวิธีการสำรวจตามจุดกำหนด มีความถี่ในการสำรวจ 1 เดือนต่อครั้ง พบนกจำนวนทั้งสิ้น 60 ชนิด จาก 39วงศ์ 12อันดับ โดยอันดับนกจับคอนมีจำนวนชนิดสูงที่สุด (33 ชนิด) รองลงมา คือ อันดับ นกกระสา (7 ชนิด) อันดับนกตะขาบ (6 ชนิด) อันดับนกเขา (4 ชนิด) อันดับนกแอ่น (2 ชนิด) และอันดับนกคัคคู (2 ชนิด) ตามลำดับ สถานภาพตามฤดูกาลแบ่งเป็นนกประจำาถิ่น 45 ชนิด นกอพยพ 14 ชนิด และนกอพยพผ่าน 1 ชนิด ค่าเฉลี่ยของ ดัชนีความหลากชนิดของนกในเขตพื ้นที่มหาวิทยาลัยบูรพาตลอดทั้งปี มีค่าเท่ากับ 2.44 โดยเดือนตุลาคมมีค่าดัชนีความหลาก ชนิดสูงที่สุดขณะที่เดือนสิงหาคมมีค่าดัชนีความหลากชนิดของนกต่ำที่สุด (H’: 2.66 และ 2.15 ตามล าดับ) สามารถจัดแบ่ง ระดับความถี่ของการปรากฏออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ นกที่พบบ่อยมาก (27ชนิด) นกที่พบบ่อย (8 ชนิด) นกที่พบปานกลาง (9 ชนิด) นกที่พบได้น้อย (5 ชนิด) และนกที่พบได้ยาก (11 ชนิด) เมื่อวิเคราะห์ค่าความชุกชุมสัมพัทธ์พบว่า นกพิราบป่า (Columba livia) เป็นนกที่พบชุกชุมมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ นกกระจอกบ้าน (Passer montanus) นกเขาชวา (Geopelia striata) นกเอี้ยงสาริกา (Acridotheres tristis) และนกเอี้ยงหงอน (Acridotheres grandis) นอกจากนี้จากการตรวจสอบ สถานภาพด้านการอนุรักษ์จากบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติหรือบัญชีแดง พบนก 2 ชนิด ได้แก่ นกแขกเต้า (Psittacula alexandri) และนกกินปลีคอสีน้ำตาล (Anthreptes malacensis) ซึ่งถูกจัดเป็นนกชนิดที่เกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ส่วนสถานภาพด้านการอนุรักษ์ในประเทศไทย พบนก 2 ชนิด ได้แก่ นกขุนทอง (Gracula religiosa) และนกกระจาบธรรมดา (Ploceus philippinus) ซึ่งเป็นชนิดที่เกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์จากผลการศึกษาทั ้งหมด แสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยบูรพาเป็นเขตพื้นที่สีเขียวในเมืองที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของนก ท้ายสุดมีข้อแนะนำให้ทำการติดตามความหลากหลายของนกในระยะยาวและจำกัดการรบกวนจากมนุษย์เพื่อพิทักษ์ รักษาความหลากหลายทางชีวภาพให้คงอยู่ต่อไปSpecies diversity and abundance of birdsin Burapha University, Chonburi Province was monthly assessed by point count method from April2013 to April 2014. There were 60 species of birdsbelonging to 36families and 12 orders, of which Order Passeriformes has the highest number of species (33 species), followed by Order Ciconiiformes (7species), Order Coraciiformes(6species), Order Columbiformes(4species), Order Apodiformes (2 species) and Order Cuculiformes (2 species), respectively. Based on seasonal status, 45 species were considered as resident, 14 as migrant, and 1 as passage migrant species. The average of species diversity index of bird community (H’) in a year-round period of Burapha University was 2.44. The highest H’ was in October whereas the lowest H’ was in August (H’: 2.66 and 2.15, respectively). The number of species per category with respect to the frequency of species occurrence was 27 (abundant), 8 (common), 9 (moderately common), 5 (uncommon) and 11 (rare), respectively. Based on relative abundance, the most abundant species was Rock Pigeon (Columba livia), followed by EurasianTree Sparrow (Passer montanus), Zebra Dove (Geopelia striata), Common Myna (Acridotheres tristis) and White-vented Myna (Acridotheres grandis). According to the IUCN Red List of threatened species, twospecies, Red-breasted Parakeet (Psittacula alexandri) and Brown-throated sunbird (Anthreptes rhodolaemus), wereclassified as Near Threatened while based on bird conservation status of Thailand two species, Hill Myna (Gracula religiosa) and Baya Weaver (Ploceus philippinus) , were classified as Near Threatened. Above all, findings highlighted that Burapha University provides important urban greenery for conservation of avian biodiversity. It is finally recommended to conduct long-term monitoring of bird diversity and to limit humandisturbance in order to maintainbirdbiodiversityDownloads
Issue
Section
Articles