ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด ฤทธ์ิต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ต้านจุลชีพจากสารสกัดใบละมุดสีดา

Authors

  • ต่วนรอฮานี โตะกูบาฮา
  • โนร์เลียนา ยะโก๊ะ
  • ทวีสิน นาวารัตน์
  • นันธิดา ลิ่มเสฎโฐ

Keywords:

ละมุดสีดา, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, ฤทธิ์ต้านเชื้อ, การทำบริสุทธิ์บางส่วน

Abstract

          ศึกษาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านจุลชีพของสารสกัดจากใบละมุดสีดา สกัดโดยใช้เมทานอล และเฮกเซน พบว่าสารสกัดเมทานอลมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH สูงที่สุด 91.356±0.268% มีปริมาณฟีนอลิก เท่ากับ 11.332±0.327 mgGAE/100 mg sample จากนั้นทำบริสุทธิ์บางส่วนโดยวิธี Quick column chromatography โดยใช้ตัวทำละลาย 100% Hexane จนถึง 70% MeOH:EtOAc (FR-1 ถึง FR-3) พบว่า FR-3 มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงสุดเท่ากับ 83.488±0.154% มีปริมาณฟีนอลิกเท่ากับ 4.952±0.299 mgGAE/100 mg sample และจากการศึกษาฤทธิ์ต้านจุลชีพ Bacillus cereus, Staphylococcus aureus, Escherichia coli, Bacillus subtilis และ Salmonella typhimurium พบว่า FR-1 มีประสิทธิภาพในการต้านจุลชีพ B. cereus และ B. subtilis ได้มากที่สุด           The total phenolic content, antioxidant and antimicrobial activities from the Madhuca esculenta leaves extracted by methanol and hexane were studied. The results indicated that the methanol extracted had the highest antioxidant activity were 91.356±0.268% with total phenolic contents 11.332±0.327 mgGAE/100 mg sample. Then partial purification were performed by Quick column chromatography with solvent 100% Hexane to 70% MeOH:EtOAc were eluted (FR-1 to FR-3). The DPPH assay showed that FR-3 gave the highest antioxidant activity were 83.488±0.154% with total phenoliccontents 4.952±0.299 mgGAE/100 mg sample. The antimicrobial activities (Bacillus cereus, Staphylococcus aureus, Escherichia coli, Bacillus subtilis and Salmonella typhimurium) from the Madhuca esculenta leaves extracted found that the FR-1 showed the highest antipathogenic bacterial activity against bacteria B. cereus and B. subtilis.

Downloads