ลักษณะกายภาพพื้นทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนใน

Authors

  • เผชิญโชค จินตเศรณี
  • ประสาร อินทเจริญ
  • อนุกูล บูรณประทีปรัตน์

Keywords:

อ่าวไทยตอนใน, ลักษณะพื้นทะเล, แผนที่พื้นทะเล

Abstract

          งานวิจัยนี้เป็นการแสดงลักษณะกายภาพพื้นทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนในจากข้อมูลความลึกที่อ่านได้จากแผนที่เดินเรือ รวมจำนวนทั้งสิ้น 18 ระวาง สำรวจโดยกรมอุทกศาสตร์ ราชนาวีไทย ระหว่างเช่นเดียวกับวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ความลึกรายละเอียดสูง ผลการวิจัยพบว่า จากภาพตัดขวางพื้นทะเลของอ่าวไทยตอนในมีลักษณะทั่วไปค่อนข้างราบเรียบ จากปากแม่น้ำออกสู่บริเวณกลางอ่าวแล้วลาดเทสู่ด้านทิศใต้พื้นที่ด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกของอ่าวมีความราบเรียบกว่าด้านทิศใต้และทิศตะวันออก ลักษณะภูมิประเทศกายภาพพื้นทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนในมีความลึกระหว่าง 0-50 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง พื้นทะเลใกล้ปากแม่น้ำและชายฝั่งมีความลาดเทต่ำมาก พื้นที่ด้านทิศตะวันออกมีความลึกมากกว่าด้านตะวันตกและด้านเหนืออย่างชัดเจน ในขณะที่พื้นทะเลบริเวณตอนกลางของอ่าวค่อนข้างราบเรียบ พื้นทะเลด้านทิศตะวันออกของพื้นที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเนินสลับกับแอ่งวางตัวในแนวเหนือใต้ โดยเฉพาะบริเวณรอบเกาะมีลักษณะเป็นร่องน้ำ           This research aims to construct physical bathymetry of the inner Gulf of Thailand using the digitized depth data from 18 Navigation charts of the Hydrographic Department, the Royal Thai Navy as well as the higher solution bathymetric data analysis. As a result from cross-sections, the seafloor of the inner Gulf of Thailand shows a general smooth area from the river mouths to the central of the Gulf with slightly slopping southward. The bathymetry in northern and western parts of Gulf displays more flat area than those appears in the southern and the eastern parts. Bathymetric depth of the inner Gulf varies from 0-50 m from the mean sea level. Slope of the seafloor around the river mouths and coastal zone is very low. The area in the east is clearly deeper than the west while the central area is generally smooth. The seafloor in the east is characterized by mounds topography and shallow basin. The area around the Islands is partially dominated by submarine channels.

Downloads