คุณภาพน้ำและการฟอกตัวของธารน้ำจากอุทยานแห่งชาติในจังหวัดจันทบุรี

Authors

  • จักรพันธ์ โพธิพัฒน์
  • ภัทร ศรีสรวล

Keywords:

การฟอกตัว, คุณภาพน้ำ, ดัชนีชี้วัด, อุทยานแห่งชาติ, จังหวัดจันทบุรี

Abstract

          วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาคุณภาพน้ำและการฟอกตัวของธารน้ำจากน้ำตกในเขตอุทยานแห่งชาติของจังหวัดจันทบุรี ดำเนินการเก็บตัวอย่างน้ำแบบจ้วงตักในธารน้ำที่ไหลจากน้ำตก 3 แห่ง คือ น้ำตก เขาสิบห้าชั้น น้ำตกกระทิง และน้ำตกพลิ้ว ตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 ถึง เดือน ธันวาคม 2561 ศึกษาตัวบ่งชี้คุณภาพน้ำทั้งหมด 8 ตัวชี้วัด ได้แก่ อุณหภูมิ พีเอช ค่าการนำไฟฟ้า ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำ ความขุ่น ปริมาณออกซิเจน ละลายน้ำ บีโอดีและฟอสเฟต ผลการศึกษาคุณภาพของธารน้ำจากน้ำตกทั้ง 3 แห่งตามขอบเขตการฟอกตัวของธารน้ำ พบว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 2 ยกเว้น บีโอดี สอดคล้องกับผลการศึกษาการฟอกตัวของธารน้ำด้วยดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำที่ชี้ให้เห็นว่าบีโอดีมีสภาพเสื่อมโทรมและมีความสามารถในการฟอกตัวได้ต่ำเนื่องจากอิทธิพลของพื้นที่ทางการเกษตรขนาดใหญ่ที่อยู่ล้อมรอบบริเวณธารน้ำ            This research studied water quality and self-purification of creek from waterfall in Chanthaburi province national park. Three creeks from waterfalls namely; Khao Sip Ha Chan, Krathing and phlio were collected by using grab water sampling during January 2018 - December 2018. Various water quality indicators such as temperature, pH, conductivity, total dissolved solid (TDS), turbidity, dissolved oxygen, biochemical oxygen demand (BOD) and phosphate (PO43-) were determined. All water samples along self-purification boundaries were qualified with surface water quality standard (Class II), except BOD. Likewise, the investigation of self-purification by Water Quality Index (WQI) indicated that degenerated BOD and low recovery rate due to the influence of large agricultural areas around the creek sites.

Downloads