ผลของสายพันธุ์และวิธีการเตรียมใบมะม่วงที่มีต่อผงสีธรรมชาติจากใบมะม่วงที่เตรียมด้วยวิธีการดูดซับ

Authors

  • ชณิภรณ์ วดีศิริศักดิ์
  • สุพรรณี ฉายะบุตร
  • จิตนภา ศิริรักษ์

Keywords:

ใบมะม่วง, ผงสีธรรมชาติ, การดูดซับ

Abstract

          ใบมะม่วงมีรงควัตถุที่ชื่อว่า “แมงจิเฟอริน (Mangiferin)” ซึ่งสามารถให้สีเหลือง จึงมีการนำใบมะม่วงมาใช้เป็นวัตถุดิบในการเตรียมน้ำย้อม และผงสีธรรมชาติ เพื่อนำมาใช้ในการย้อมสีหรือสร้างลวดลายบนสิ่งทอ ในงานวิจัยนี้ ได้ศึกษาการเตรียมผงสีธรรมชาติจากใบมะม่วงด้วยวิธีการดูดซับและใช้อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์เป็นตัวดูดซับ โดยทำการศึกษาผลของสายพันธุ์มะม่วงและการเตรียมใบมะม่วงที่ต่อผงสีธรรมชาติจากใบมะม่วงที่เตรียมได้ โดยใบมะม่วงจำนวน 3 สายพันธุ์ที่นำมาศึกษา คือ ฟ้าลั่น เขียวเสวย และน้ำดอกไม้ นอกจากนี้ยังศึกษาการเตรียมใบมะม่วง 3 ประเภท คือ ใบมะม่วงสด ใบมะม่วงแห้ง ใบมะม่วงที่แช่ตู้เย็นเป็นเวลา 4 เดือน จากผลการทดลอง พบว่า ผงสีที่เตรียมจากใบมะม่วงสด ทั้ง 3 สายพันธุ์ จะมีสีเหลืองโดยผงสีที่เตรียมจากใบมะม่วงสดพันธุ์น้ำดอกไม้จะมีสีเหลืองที่เข้มกว่าผงสีที่เตรียมจากใบมะม่วงสายพันธุ์อื่น สำหรับผงสีที่เตรียมจากใบมะม่วงแห้งและใบมะม่วงแช่เย็นนั้นจะมีสีเหลืองอมน้ำตาล และจะให้สีที่อ่อนกว่าผงสีที่เตรียมด้วยใบมะม่วงสด นอกจากนี้ จากการศึกษาปริมาณตัวดูดซับและระยะเวลาที่เหมาะสมในการดูดซับ พบว่า เมื่อปริมาณผงอะลูมิเนียม ไฮดรอกไซด์ที่ใช้ในการดูดซับเพิ่มขึ้นจะทำให้ผงสีที่ได้จะมีสีอ่อนลง โดยผงอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์จำนวน 4 กรัม สามารถ ดูดซับสีในน้ำย้อมจากใบมะม่วง ปริมาตร 100 ml ได้หมด และระยะเวลาในการดูดซับที่เหมาะสมคือ 2 ชั่วโมงทั้งนี้ กรรมวิธีการเตรียมผงสีที่ศึกษานี้เป็นวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเป็นการนำวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรมาทำให้เกิดประโยชน์ ทั้งยังสร้างรายได้เสริมให้แก่เกษตรกร            Mango leaves containing pigment named “Mangiferin” is one of natural dye yielding yellow color. Mango leaves are used in the preparation of dye and lake pigment for dyeing textiles. In this work, lake pigments were successfully prepared from fresh, dried and four months refrigerator- stored ( 5ºC) mango leaves using adsorption method and aluminium hydroxide as an adsorbent. The effects of mango leaves species: Kaewsavey, Numdokmai and Fahlun on the color of lake pigments were also investigated. The results showed that, for fresh mango leaves, yellow lake pigments were obtained and Numdokmai mango leaves yielded deeper yellow lake pigment than Kaewsavey and Fahlun mango leaves. Moreover, yellow-brown lake pigments obtained from dried and four months refrigerator- stored ( 5ºC) mango leaves were paler than those of fresh mango leaves. Additionally, the effect of amount of absorbents and adsorption time were explored. It was found that the deeper color of lake pigments were obtained when smaller amount of adsorbents was used. Moreover, only 4 grams of the absorbents were required for the adsorption of yellow pigment in 100 ml mango leaf dye using adsorption time of two hours. In addition, our method is environmentally friendly and our studies could increase the value of mango leaves and benefit the community in term of optional income.

Downloads