ความหนาแน่น และการแพร่กระจายของหอยกีบหมูบริเวณอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี
Keywords:
หอยกีบหมู, การเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่, การเปลี่ยนแปลงเชิงเวลา, อ่าวคุ้งกระเบน, จังหวัดจันทบุรีAbstract
การศึกษาความหนาแน่น การแพร่กระจาย และปัจจัยสิ่งแวดล้อม (ความเค็ม กับอุณหภูมิน้ำทะเลบริเวณผิวดิน) ที่ส่งผลต่อความหนาแน่นของหอยกีบหมู บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี โดยวิธีการสำรวจ และเก็บตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า การแพร่กระจายในฤดูหนาวมีพื้นที่แพร่กระจายกว้างที่สุด (1,085,079 ตารางเมตร) ส่วนการแพร่กระจายในฤดูฝนมีพื้นที่แพร่กระจายเล็กที่สุด (467,656 ตารางเมตร) โดยมีความหนาแน่นในเชิงพื้นที่ต่ำสุด 2.93±0.95 -สูงสุด 34.28±3.39 ตัวต่อตารางเมตร แตกต่างกันระหว่างสถานีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และความหนาแน่นในเชิงเวลาต่ำสุด 6.88±1.27 -สูงสุด 24.06±2.55 ตัวต่อตารางเมตร แตกต่างกันระหว่างเดือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) จัดว่าอ่าวคุ้งกระเบน มีความหนาแน่นของหอยกีบหมูที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง ส่วนความหนาแน่นเชิงเวลามีความสัมพันธ์กับความเค็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงความเค็มของน้ำส่งผลต่อการแพร่กระจาย และความหนาแน่นของหอยกีบหมู The objective of this study was to study on density, distribution and environmental factors (salinity and sea surface temperature) affected the density of A. squamosa around Ao Khung Kraben, Chanthaburi Province, by survey and collect samples. The results showed that distribution in winter (467,656 square meters) has the widest area of spread, distribution in the rainy season (467,656 square meters) was the smallest spread area. The lowest spatial density 2.93 ± 0.95 - maximum 34.28 ± 3.39 individual/m2, which differed significantly between stations (P <0.05). The lowest temporal density 6.88±1.27 - maximum 24.06±2.55 individual/m2, which differed significantly between months (P <0.05). Held that Kung Krabaen Bay has a high density of Anomalodiscus squamosa that are high in abundance. The temporal density is related to salinity significantly (P <0.05), Which changes in salinity of water affects the spread and the density of Anomalodiscus squamosa.Downloads
Issue
Section
Articles