การคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวไร่ที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกในพื้นที่ราบของจังหวัดพิษณุโลก

Authors

  • วีระพงษ์ อินทร์ทอง
  • ปุณณดา ทะรังศรี
  • ชวินทร์ นวลศรี
  • จักรกฤช ศรีละออ

Keywords:

การคัดเลือก, ข้าวไร่, พื้นที่ราบ, จังหวัดพิษณุโลก

Abstract

          การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวไร่ที่เหมาะสมสำหรับเพาะปลูกในพื้นที่ราบของจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 19 สายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวก่ำ ข้าวเจ้าขาว ข้าวเจ้าแดง ข้าวเจ้างอ ข้าวเจ้าดำ ข้าวเจ้าฮ่อ ข้าวซิวแม่จัน ข้าวแดง ข้าวบุญเกิด ข้าวลาย ข้าวหนวดปลาดุก ข้าวหอมงอ ข้าวหอมมะลิไร่ ข้าวหอมมะลิแดง ข้าวหอมลูกรัง ข้าวหางปลาไหล ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวดำ และข้าวเหนียวลืมผัว โดยทำการปลูกข้าวในแปลงปลูกบนพื้นที่ราบสายพันธุ์ละ 5 แปลง ขนาดแปลง 50 ตารางเมตร วางแผนการทดลองแบบบล็อกสมบูรณ์เชิงสุ่ม ผลจากการวิจัยพบว่า สายพันธุ์ข้าวไร่ที่นำมาปลูก ในสภาพนาน้ำตม ให้การเจริญเติบโตด้านความสูงลำต้น จำนวนต้นต่อกอ และให้ผลผลิตด้านจำนวนเมล็ดต่อรวง น้ำหนักข้าวเปลือก 100 เมล็ด และผลผลิตต่อแปลงมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) โดยข้าวแดง ข้าวเหนียวดำ และข้าวหอมลูกรัง เป็นสายพันธุ์ข้าวไร่ที่มีศักยภาพที่จะนำมาเพาะปลูกในพื้นที่ราบเนื่องจากให้ผลผลิตสูง โดยทั้งสามสายพันธุ์ให้ผลผลิตต่อแปลงเท่ากับ 21.04 20.70 และ 19.39 กิโลกรัม ตามลำดับ             The objective of this study was to identify the suitable upland rice variety for planting in lowland of Phitsanulok province in nineteen upland rice varieties consist of Kum, Jaw Kao, Jaw Dang, Jaw Ngor, Jaw Dum, Jaw Hor, Siw Mae Jun, Dang, Bun Kerd, Lai, Nuad Pla Dug, Hom Ngor, Hom Ma Li Rai, Hom Ma Li Dang, Hom LooK Rung, Hnang Pla Lai, Neaw Dang, and Neaw Luem Pua. The upland rice varieties were planted in field (50 m2) for every variety. A randomized complete block (RCB) design was used with five replications. The results showed that upland rice variety had characteristics in term of stem height, grain per spike, fresh weight per 100 seed and yield per 50 m2 were significant (p<0.01). Dang, Neaw Dum and Hom LooK Rung showed high-yielding upland rice varieties. These 3 varieties gave yield of 21. 04, 20. 70 and 19. 39 kilograms per field, respectively; therefore, could be recommended to grow these varieties in lowland area.

Downloads