การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์ร่วมกับการใช้สถานการณ์จริงเพื่อส่งเสริมการทำงานเป็นทีม สำหรับนิสิตปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีการศึกษา
The Development of Online Training with Real Situations to Encourage Team Working for Undergraduate Students in Educational Technology Major
Keywords:
การฝึกอบรมออนไลน์, การใช้สถานการณ์จริง, การทำงานเป็นทีม, Online Training, Real situations, TeamworkAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์ร่วมกับการใช้สถานการณ์จริงเพื่อส่งเสริมการทำงานเป็นทีมสำหรับนิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนแบบทดสอบก่อนกับหลังการฝึกอบรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรมด้วยรูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์ฯ 3) เพื่อศึกษาทักษะการทำงานเป็นทีมของรูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์ฯ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์ฯ 5) เพื่อประเมินรับรองรูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์ฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิต ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่สนใจสมัครเข้าโครงการพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์ฯ โดยวิธีการแบบอาสาสมัคร (Voluntary Selection) จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) รูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์ฯ 2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังการฝึกอบรมออนไลน์ฯ 3) แบบวัดทักษะการทำงานเป็นทีม 4) แบบศึกษาความพึงพอใจ และ5) แบบประเมินรับรองรูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์ฯ การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบประสิทธิภาพ (E1/E2) และ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์ฯ มี 5 องค์ประกอบ และ 3 ขั้นตอน ดังนี้ องค์ประกอบ 1) วิเคราะห์การฝึกอบรม 2) กำหนดวัตถุประสงค์ 3) พัฒนาหลักสูตร 4) ขั้นตอนการฝึกอบรม 5) ประเมินและปรับปรุง และขั้นตอน 1) ขั้นก่อนการฝึกอบรม 1.1) เตรียมความพร้อมการฝึกอบรมออนไลน์ 1.2) มอบหมายภารกิจ 1.3) สร้างทีมและกำหนดบทบาท 2) ขั้นฝึกอบรมและเผชิญสถานการณ์จริง 2.1) ฝึกอบรมออนไลน์และศึกษาบทเรียนออนไลน์ 2.2) เพิ่มเติมความรู้ 2.3) การติดต่อ สื่อสาร 2.4) เผชิญสถานการณ์จริง 2.5) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3) ขั้นประเมินผลการฝึกอบรม 3.1) นำเสนอผลงาน 3.2) ทดสอบหลังการฝึกอบรม 3.3) ทักษะการทำงานเป็นทีม โดยบทเรียนจากรูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์ฯ ได้ผลการทดสอบประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 = 87.25/85.48 2. การทดสอบก่อนกับหลังการฝึกอบรมด้วยรูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์ฯ สูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ทักษะการทำงานเป็นทีมของรูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์ฯ มีคะแนนเฉลี่ยระดับ “มากที่สุด” 4. ความพึงพอใจต่อรูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์ฯ มีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจระดับ “มากที่สุด” 5. การประเมินรับรองรูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์ฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ คะแนนเฉลี่ยระดับ “มากที่สุด” The objectives of this research were 1) to develop an online training model with real situations to encourage teamwork for undergraduate students in educational technology major 2) to compare the scores of the pre and post training test of the trainees by the online training model with real situations to encourage teamwork for undergraduate students 3) to study the teamwork skills of the online training model with real situations to encourage teamwork for undergraduate students 4) to study the satisfaction of the online training model with real situations to encourage teamwork for undergraduate students 5) to assess and certify an online training model with real situations to encourage teamwork for undergraduate students by qualified. The sample group used in the research were undergraduate students in educational technology major, faculty of education, Burapha university who are interested in applying for the online training model development project by a volunteer method (Voluntary Selection) of 30 people. The research instruments were 1) online training form 2) pre and post online training test 3) teamwork skill test 4) satisfaction study form and 5) assessment certifies form of online training formats. Data analysis consisted of percentage, mean, standard deviation, efficiency test (E1/ E2) and t-test. The results showed that 1) An online training model with real situations to encourage teamwork for undergraduate students in educational technology major has 5 components and 3 steps as follows: components 1) Training analysis 2) Determining objectives 3) Curriculum development 4) Training procedures 5) Evaluate and improve; steps were: 1) pre-training stage 1.1) online training preparation 1.2) assignments 1.3) team building and role assignments 2) training and real situations 2.1) online training and online lessons 2.2) Knowledge addition 2.3) Communication 2.4) Face to face with real situations 2.5) Exchange of knowledge 3) Training evaluation stage 3.1) Presentation of results 3.2) Post-training test 3.3) Teamwork skills got the efficiency test according to E1/E2 = 87.25/85.48 2) Pre and post training tests of an online training model with real situations to encourage teamwork for undergraduate students in educational technology major statistically significantly higher than before training at the .01 level. 3) Teamwork skills of the online training model with real situations to encourage teamwork for undergraduate students in educational technology major, the average score was on the “highest” level. 4) Satisfaction with the online training model with real situations to encourage teamwork for undergraduate students in educational technology major, the average satisfaction rating was at the “highest” level. 5) Assessment certifies the online training model with real situations to encourage teamwork for undergraduate students in educational technology major by qualified the average score was at the “highest” level.References
กฤษณพงศ์ เลิศบำรุงชัย และปณิตา วรรณพิรุณ. (2563). กระบวนการเรียนรู้ดิจิทัลตามแนวคิดคอนเน็กติวิสต์ผ่านคลาวด์เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร. พระนคร. 4(2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2562), 44-55.
คณะศึกษาศาสตร์. (2564). หลักสูตรการศึกษาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564. ชลบุรี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2548). หน่วยที่ 1 สามัญทัศน์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. เอกสารประกอบการสอน ชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากร ศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1(ม.ค.-มิ.ย. 2556)), 5-20.
ชุติมา สัจจานันท์. (2559). การพัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกลการรู้สารสนเทศเพื่อการศึกษาทางไกล : ความร่วมมือระหว่างระหว่างมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชกับมหาวิทยาลัยเปิดประเทศญี่ปุ่น. วารสารญี่ปุ่นศึกษา. 33(2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2559), 44-58.
ฐิติยา เนตรวงษ์ และบรรพต พิจิตรกำเนิด. (2555). การพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมด้วยวิธีการเรียนรู้เป็นทีมโดยใช้ปัญหาเป็นฐานบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ สำหรับการเรียนรู้ร่วมของนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและนักศึกษาออทิสติก. รายงานการวิจัย, กลุ่มวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ธนภาส อยู่ใจเย็น. (2553). การพัฒนารูปแบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการฝึกอบรมแบบผสมผสานตามแนวคิดการเรียนรู้เป็นทีมเพื่อพัฒนานวัตกรรมด้านการตลาดและพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สำหรับพนักงานบริษัทประกันชีวิต. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, ภาควิชาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นคร ละลอกน้ำ. (2558). การพัฒนาชุดฝึกอบรมแบบผสมผสานการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสอนสำหรับนิสิตครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. รายงานการวิจัย, ภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
นันทวัน เรืองอร่าม. (2563). เสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาของผู้เรียนด้วยเกม. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 32(112 กรกฎาคม-กันยายน 2562), 3-11.
เนาวนิตย์ สงคราม. (2556). การสร้างนวัตกรรม เปลี่ยนผู้เรียนให้เป็นผู้สร้างนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปณิตา วรรณพิรุณ และปรัชญนันท์ นิลสุข. (2555). การพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารวิทยบริการ. 23(2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2555), 115-128.
ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ. (2555). Active Learning. เข้าถึงได้จาก http://www.academic.chula.ac.th/ elearning/content/active%20learning_Praweenya.pdf
ภัทราดา เอี่ยมบุญญฤทธิ์, ชลธิชา ภูริปาณิก และฐิติชัย รักบำรุง. (2563). การสอนอ่านเชิงวิเคราะห์ผ่านกระบวน การเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กไทยยุค Gen Z. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 31(3 กันยายน-ธันวาคม 2563), 1-11.
ภิญโญ มนูศิลป์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของทีม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 9(2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2558), 1-28.
มหาวิทยาลัยบูรพา. (2564). แผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2567. ชลบุรี: กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา.
วรวุฒิ มั่นสุขผล. (2557). การพัฒนารูปแบบฝึกอบรมออนไลน์โดยการเรียนรู้แบบร่วมกัน เพื่อพัฒนาสมรรถนะการออกแบบ อีเลิร์นนิงเพื่อการเรียนการสอนของอาจารย์ ระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 7(3 กันยายน-ธันวาคม 2557), 784-799.
วราภรณ์ ผ่องสุวรรณ. (2553). การพัฒนารูปแบบความรู้ร่วมกันด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้เป็นทีมของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ สถาบันอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, ภาควิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). การจัดการเรียนรู้ในยุค Disruptive Innovation. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.
วิทวัส ดวงภุมเมศ และวารีรัตน์ แก้วอุไร. (2560). การจัดการเรียนรู้ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 11(2 กรกฎาคม–ธันวาคม 2560), 1-14.
สรญา สาระสุภาพ. (2553). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายระบบออนไลน์ด้วยทฤษฎีการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพื่อเสริมสร้างความตระหนักระหว่างวัฒนธรรมของผู้เรียนภาษาต่างประเทศ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, ภาควิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2559). การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ. เข้าถึงได้จากhttps://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/ocsc-2017-eb01.pdf
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
เสาวคนธ์ ชูบัว. (2556). การพัฒนาระบบทีมเสมือนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาในการพัฒนาโครงการทางระบบสารสนเทศ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา, ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
อัชณี ซาอุรัมย์. (2564). การพัฒนาระบบการรับสมัครฝึกอบรมออนไลน์ของสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 12(1 มกราคม-เมษายน 2564), 70-81.
อุบลวรรณ กิจคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนออนไลน์แบบกลุ่มสืบเสาะที่มีสแคฟโฟลด์ที่ส่งเสริมความสามารถการคิดเชิงประมวลผล. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Dale, E. (1969). Audio-Visual Methods in Teaching. 3rd ed. New York: Holt, Rinehart & Winston.
Dewey, J. (1938). Experience and Education. New York: Macmillan Company.
Driscoll, M. (2005). Advance Web-based Training Strategies: Unlocking Instructionally Sound Online Learning. CA: Pfeiffer.
Growth Engineering. (2021). What is Edgar Dale’s Cone of Experience? Retrieved from https://growthengineering.co.uk/what-is-edgar-dales-cone-of-experience/#:~:text=1.,for%20 driving%20a%20specific%20outcome
Lake Region State College. (2019). Industry Partner Mentor Resource Guide for Work based Learning and On-The-Job Training. North Dakota: Lake Region State College.
Margerison, C. J. & McCann, D. J. (2013). Team Management Profile. Retrieved from https://www.tmsdi.com/team-management-profile-19
Senge, P. (2006). The Fifth Discipline: The Art & Practice of the Learning Organization. 2nd ed. London: Cornerstone (GB).
Sisson, G. R. (2001). Hands-on Training: A Simple and Effective Method for on the Job Training. CA: Berret-Koehler Publishers.
Yazici, J. H. (2005). A study of collaborative learning style and team learning performance. Education + Training. 43(3), pp.216-229.