การพัฒนาการสอนแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

Development of Blended Teaching to Develop Basic Chinese Language Communication Skills for Junior High School Students

Authors

  • Bingling Zhong
  • วีระพันธ์ พานิชย์
  • นคร ละลอกน้ำ

Keywords:

การสอนแบบผสมผสาน, การสอนภาษาจีน, ทักษะการสื่อสารภาษาจีน, Blended Teaching, Teaching Chinese, Basic Chinese Communication Skills

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการสอนแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของสื่อการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 3) เพื่อศึกษาทักษะการสื่อสารภาษาจีนขั้นพื้นฐานของนักเรียนหลังการสอนแบบผสมผสาน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น การวิจัยดำเนินการเป็น 5 ขั้นตอนตามรูปแบบ ADDIE กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1/1 โรงเรียนบ้านสวนอุดมวิทยา จำนวน 30 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการสอนแบบผสมผสาน 2) บทเรียนออนไลน์ 3) แบบประเมินคุณภาพแผนการสอนแบบผสมผสาน 4) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนออนไลน์ 5) แบบทดสอบหลังเรียน 6) แบบประเมินทักษะ และ 7) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย, ร้อยละ, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบประสิทธิภาพ E1/E2 ผลการวิจัยพบว่า 1. การสอนแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นการเรียนรู้แบบออนไลน์และส่วนที่เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเผชิญหน้า มีสัดส่วน 30:70 ได้แก่ 1) การเรียนรู้แบบออนไลน์ ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการ 4 ขั้นตอน คือ 1.1) เตรียมความพร้อมการเรียนออนไลน์ 1.2) ศึกษาปัญหาและทำแบบฝึกหัด 1.3) ค้นคว้าเพิ่มเติม และ 1.4) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเผชิญหน้า ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการ 7 ขั้นตอน คือ 2.1) ทบทวนความรู้เดิม 2.2) สะท้อนผลการเรียนรู้ออนไลน์ 2.3) เสนอสาระสำคัญเนื้อหา 2.4) ฝึกฝนให้ชำนาญ 2.5) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2.6) ให้ข้อมูลย้อนกลับรายบุคคล 2.7) สรุปสาระสำคัญการเรียนรู้  2. สื่อการสอนแบบผสมผสานมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ได้แก่ หน่วยที่ 1 E1/E2 เท่ากับ 80.42/81.22 หน่วยที่ 2 E1/E2 เท่ากับ 80.27/80.22 หน่วยที่ 3 E1/E2 เท่ากับ 81.08/80.56 3. ทักษะการสื่อสารภาษาจีนขั้นพื้นฐานของนักเรียนอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 82 4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการสอนแบบผสมผสาน จัดอยู่ในระดับมาก  The purposes of this research were 1) To develop blended teaching to develop basic Chinese communication skills for junior high school students, 2) To test the effectiveness of blended teaching materials to improve basic Chinese communication skills, 3) To study the students’ basic Chinese communication skills after blended teaching, and 4) To study students’ satisfaction toward the blended teaching. The research was conducted in five steps according to the ADDIE model. The sample comprised of 30 students in grade 7 of Ban Suan Udom Wittaya School selected by cluster random sampling. The research instruments included: 1) blended lesson plan 2) online lesson 3) blended lesson plan quality assessment form 4) online lesson quality assessment form 5) post-unit test, 6) post-unit skills assessment form, and 7) student's satisfaction questionnaire. The data was analyzed by using percentage, means, Standard Deviation and efficiency E1/E2. The results of the research were: 1. Blended teaching to improve basic Chinese communication skills for junior high school students consists of 2 parts: an online learning part and a face-to-face learning activity part with a ratio of 30:70 as follows: 1) online learning, which consists of a 4-step process: 1.1) preparation for online learning, 1.2) studying problems and doing exercises, 1.3) doing additional research, and 1.4) exchanging knowledge 2) Face to Face teaching, which consists of an 7-step process: 2.1) Reviewing previous knowledge 2.2) Reflecting on the results of online learning 2.3 ) Presenting key content, 2.4) practice to become proficient, 2.5) Sharing knowledge, 2.6) Giving individual feedback, 2.7) Summary of key points learning. 2. Blended teaching materials to develop basic Chinese communication skills developed with efficiency according to the following criteria: unit 1 E1/E2 = 80.42/81.22, unit 2 E1/E2 = 80.27/80.22 and unit 3 E1/E2 = 81.08/80.56. 3. The students’ basic Chinese communication skills was at a good level, which the average score was 82 percent. 4. The students’ satisfaction toward the blended teaching was high level.

References

กนกพร ศรีญาณลักษณ์. (2550). การประยุกต์ใช้อีเลิร์นนิงในการเรียนการสอนภาษาจีน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 18(2), 33-48.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาจีนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

กฤษณา สิกขมาน. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการสื่อสารภาษาอังกฤษธุรกิจโดยการใช้การสอนแบบ E-Learning. กรุงเทพฯ: รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม.

กิตติ เสือแพร. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้การเรียนแบบปรับเหมาะร่วมกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดคำนวณและทักษะการเขียนโปรแกรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาไฟฟ้าศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ชลีนุช คนซื่อ. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานทางด้านกิจกรรมในรายวิชาการวิเคราะห์และออกแบบระบบของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อและชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 5(1), 10.

ประภาพร แสนงาม. (2561). ผลการสอนภาษาจีนโดยใช้วีดิทัศน์ประกอบ ที่มีต่อสามารถในการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. การประชุมนําเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ ๑๓ ปี การศึกษา ๒๕๖๑. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ปริวรรษ วงค์แสงคำ. (2563). การพัฒนาการสอนแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐาน กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เรื่อง ออกแบบและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

เมิ่งหลัน หลัว และ จิระพร ชะโน. (2561). การพัฒนาความสามารถในการสื่อความหมายและเจตคติต่อการเรียนภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ภาษาที่เน้นภาระงานเป็นฐาน. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ปีที่ 24 ฉบับที่ 1 : กรกฎาคม 2561.

ยุวดี ชมชื่น. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ โดยประยุกต์วิธีการทางประวัติศาสตร์และการเรียนรู้แบบผสมผสาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิรารัตน์ ปิงเมือง. (2563). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นโดยบูรณาการแนวการสอนวรรณกรรมสัมพันธ์ร่วมกับแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคมเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพูดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิริพล แสนบุญส่ง. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐานผ่านสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนคลาวด์คอมพิวติง เพื่อส่งเสริมผลงานสร้างสรรค์ และทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง. (2563). ความสัมพันธ์ไทย-จีน. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: https://thaiembbeij.org/th/republic-of-china/thai-relations-china/ [20 มีนาคม 2564]

สถาบันเอเชียศึกษา. (2551). การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย:ระดับประถม - มัธยมศึกษา.กรุงเทพฯ: ศูนย์จีนศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สังคม ไชยสงเมือง. (2560). การพัฒนาระบบการสอนแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการใช้เทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559 ก). รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ 2559.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย สังเคราะห์ภาพรวม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Bingling Zhong. (2562). ทักษะการสื่อสารภาษาจีนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย. วารสาร e-Journal of Education Studies, Burapha University. ปีที่ 1 ฉบับที่ 5 พฤศจิกายน 2562.

Bonk, C. J., & Graham, C. R. (2004). Handbook of blended learning: Global perspectives, local designs. Sanfrancisco, CA: Pfeiffer.

Branson, R. K., Rayner, G. T., Cox, J. L., Furman, J. P., & King, F. J. (1975). Interservice procedures for instructional systems development. Executive summary and model. Florida State University. Tallahassee Center for Educational Technology.

Confucius Institute. (2016). 网络教学发展. (The development of online Chinese teaching). The 10th Confucius Institute Conference, Confucius Institute VOLUME 42 | NO.1 JANUARY, 2016.

Jinming Zhao. (2011). 初级汉语教学的有效途径—“先语后文”辩证. (An Effective Approach to Elementary Chinese-teaching: The Dialectic of ‘Starting with Oral Work and Character Teaching Follows’). Chinese Teaching in the World, Vol. 25 No. 3, 2011.

Lanlan Zhu. (2020). 马来西亚玛拉工艺大学初级汉语“先语后文”实验研究. (The Experimental Study of the Teaching Mode of “Starting with Oral Work, Followed by Character Teaching” in Mara University of Technology, Malaysia). Master degree thesis, Master of Teaching Chinese to Speakers of Other Languages, Guangdong University of Foreign Studies.

Ministry of Education of the People’s Republic of China. (2019). 2018年来华留学统计. (Statistics of studying in China in 2018). Retrieved from http://www.moe.gov.cn/jyb_xwfb/gzdt_gzdt/s5987/201904/t20190412_377692.html

Xiaoqi Li & Xin Zhang. (2016). 汉语网络视频教学实施探索. (A Study of Network Video Chinese Teaching). การประชุมวิชาการระดับนานาชาติครั้งที่ 10 เรื่องความทันสมัยของการสอนภาษาจีน. หน้า 3-12

Yang Jun. (2000). Orthographic effect on word recognition by learners of Chinese as a foreign language. Journal of the Chinese Language Teacher Association 35.2,1-17.

Additional Files

Published

2023-01-31