การพัฒนาการเขียนเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้กระบวนการเขียนผ่านการเรียนออนไลน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา

The Development of Creative Writing using the writing process for 6th Grade Students through online learning at Piboonbumpen Demonstration School

Authors

  • ระพิน ชูชื่น
  • กอบกุล ใจกว้าง
  • วารี วงษ์ขุนเณร

Keywords:

การเขียนสร้างสรรค์, กระบวนการเขียน, การเรียนออนไลน์, creative writing, writing process, online learning

Abstract

การเขียนเป็นทักษะที่สำคัญยิ่งสำหรับทุกคนที่ใช้ในการสื่อสารเรียนรู้ และการประกอบอาชีพจึงจำเป็นต้องพัฒนาทักษะการเขียน การสอนการเขียนจึงต้องมีกระบวนการหรือขั้นตอน และกระบวนการสอนเขียนของไรมส์ เป็นหนึ่งกระบวนการสอนที่พัฒนาการเขียนของนักเรียน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการเขียนผ่านการเรียนออนไลน์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถ ในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้กระบวนการเขียนผ่านการเรียนออนไลน์ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่6 ต่อการพัฒนาการเขียน เชิงสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการเขียนผ่านการเรียนออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 6 จำนวน 28 คน โดยใช้วิธีการเลือก แบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การพัฒนาการเขียนเชิง สร้างสรรค์ 2) แบบทดสอบ วัดความสามารถทางการเขียนก่อนเรียน และหลังเรียนเป็นแบบปรนัย แบบอัตนัย และแบบสัมภาษณ์เพื่อศึกษา ความคิดเห็นของนักเรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล t-test for Dependent เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทาง การเขียนของนักเรียนก่อน และหลังใช้กระบวนการเขียน ผ่านการเรียนออนไลน์ความคิดเห็นของนักเรียนที่ได้ จากการสัมภาษณ์ วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถในการเขียนของนักเรียน หลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 2) ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ต่อการพัฒนาการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการเขียน ผ่านการเรียนออนไลน์ สรุปได้ 5 แนวทาง ดังนี้ 1) นักเรียนพอใจกับวิธีการสอนการเขียนเชิงสร้างสรรค์ เพราะมีขั้นตอนที่ได้ฝึกเขียน มีการประเมินงานหลังการเขียน 2) นักเรียนพอใจ วิธีเขียนต่าง ๆและนำไปใช้ เขียนได้จริงสามารถประเมินงานหลังเขียนได้ 3) นักเรียนเห็นว่าการเรียน ในห้องเรียนออนไลน์ดี ได้ฝึกฝน สืบค้นมีความมั่นใจในการแสดงความคิดเห็นการกล้าเขียน กล้าพูดตอบ คำถาม และกล้าแสดงออก 4) นักเรียนชอบการเขียนออนไลน์ เพราะตนเองได้รู้ว่าชอบหรือไม่ชอบเนื้อหาบทเรียนการเขียนอะไร มีประโยชน์อย่างไร และเลือกเอาไปใช้ในการเขียนได้ 5) นักเรียนส่วนใหญ่จำนวนร้อยละ 95 ชอบ การเขียนสร้างสรรค์ ด้วยวิธีการสอนในออนไลน์เพราะความสะดวกสบายในการเรียน สื่อที่ใช้สอน การลืบค้น และใช้เทคโนโลยี มีนักเรียนส่วนน้อย ร้อยละ 5 ที่มีปัญหาเรื่องอินเตอร์เน็ตช้าไม่มีเครื่องพิมพ์เอกสาร  Writing is a critical skill for anyone who learns to communicate. And careers need to develop writing skills. Teaching writing must have a process or procedure. And Reims' Writing Model in teaching is one of the teaching processes that improve students' writing. The goals of this study were to 1) compare whether students' creative writing skills improved after adopting the writing process of sixth-graders through online learning and 2) examine sixth-grade students' attitudes toward the growth of creative writing through the use of online learning. A sample group of 28 sixth-grade students was selected using a purposive sampling method. The tools used for collecting data are lesson plans and an ability test for creative writing skills, consisting of 30 multiple-choice questions and interviews—the dependent t-test for dependent samples. Students' opinions for developing writing from interviews use content analysis, frequency distribution, and percentage (%) to measure students' ideas. 1. According to the statistically significant results, the students' creative writing abilities improved due to applying the writing process to sixth-grade students through online learning. 01 2. The results of the analysis of the interviews of grade 6 students can be summarized as follows: 1) Most students agreed that employing Reims' writing model to teach creative writing was compelling. Since there are procedures for writing that students have practiced, the post-writing tasks were written and evaluated by students. And with online writing instruction, students write well. 2) Most students have mastered the skill of writing, have done so, and can evaluate their work after doing so. 3) Practice writing in the online classroom, searching, being confident when commenting, writing, speaking, answering questions, and writing confidently. 4) Students know the aspects of the writing lesson they enjoy, the material they are learning, and how they might use it in the real world. 5) Most students prefer online teaching methods for creative writing due to the convenience of the learning resources utilized for instruction, searching, and technology use. On the other hand, some students had no printer, Wi-Fi was slow, and the internet had no signal.

References

เก็จกนก เอื้อวงศ์ และคณะ. (2564). รายงานการศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด–19. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

จินตวีร์ คล้ายสังข์ และ เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2562). รู้รอบวัฒนธรรมจากห้องเรียนเสมือนจริง:การออกแบบระบบจากงานวิจัยสู่แนวปฏิบัติ. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(1), 42-62.

ณัฐณิชา จิตตะคาม. (2561).การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนแบบซินเนคติกส์เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี.

ระพิน ชูชื่น. ( 2561). รายงานการวิจัยการพัฒนาทักษะการเขียนภาษาไทยโดยใช้ไดอารีออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, และฉัตรสุดา กานกายันต์. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้ สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. Regional Health Promotion Center 9 Journal, 14(34), 285-298.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2563). รายงานประจำปี 2563 (ANNUAL REPORT 2020). กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2560). กระบวนทัศน์เทคโนโลยีการศึกษาในยุคดิจิทัล. แพร่: ห้างหุ้นส่วนจำกัดแพร่ไทยอุสาหการพิมพ์.

บุญญาพร ทองจันทร์. (2560).ปัญหาการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)ปัญหาการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม). วารสารช่อพะยอม, 28(1), 125-133.

Care, E. (2018). Twenty-first century skills: From theory to action. In Assessment and Teaching of 21st Century Skills. Washington: Springer.

Cheryl E. Ball. (2017). BAD IDEAS ABOUT WRITING. West Virginia: Digital Publishing

David K. William. (2015). How Writing Makes You Smarter Retrieved from https://webwriterspotlight.com/how-writing-makes-people-smarter-backed-by-science

Kirzner, R. S., Alter, T. R., & Hughes, C. A. (2021). Online Quiz as Exit Ticket: Using Technology to Reinforce Learning in Face to Face Classes. Journal of Teaching in Social Work, 41, 151-171.

Pawliczak, J. (2015). Creative Writing as a Best Way to Improve Writing Skills of Students. English Teaching, 12, 347-352.

Raimes, A., & Miller-Cochran, S. (2014). Keys for Writers with Assignment Guides. USA: Cengage Learning.

Taylor, C. (2014). How to teach creative writing. Retrieved from https://www.wikihow.com/Teach-Creative-Writing#References

Topacio, K. N. M. (2018). Exploring the use of online educational platform in teaching writing among ESL students. Journal of Language and Linguistic Studies, JLLS Mart 2018 Sayısı, 86-101.

Additional Files

Published

2023-01-31