แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จักสานสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์: มุมมองของผู้สูงอายุในชุมชนพนัสนิคม

Guideline for product development of Handicraft to the creative economy: the perspective of the elderly in Phanat Nikhom Community

Authors

  • จุฑามาศ แหนจอน
  • วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์
  • เกศรา น้อยมานพ

Keywords:

หัตถกรรมจักสาน, เศรษฐกิจสร้างสรรค์, ผู้สูงอายุ, Handicraft, Creative economy, Ageing (Elderly)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การศึกษาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นบ้านแบบจักสาน ที่สามารถนำไปพัฒนาสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้สูงอายุในชุมชนพนัสนิคมในการยกระดับขีดความสามารถของชุมชนไปสู่ชุมชนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ของอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชนหัตถกรรมพื้นบ้านแบบจักสาน 10 กลุ่ม จำนวน 100 คน การเก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปเป็นสินค้าเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในชุมชน ได้แก่ ชะลอม ซึ่งผู้สูงอายุมีความเชี่ยวชาญการสานชะลอมที่สุด เป็นลายที่ง่าย เหมาะกับการพัฒนาเป็นสินค้าได้หลากหลายรูปแบบ และเป็นที่ต้องการของตลาด และ 2) ความคิดเห็นของผู้สูงอายุในการยกระดับขีดความสามารถชุมชนไปสู่ชุมชนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผู้สูงอายุคิดว่า สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทชะลอม หรือสินค้าอื่น ๆ ที่เป็นลายชะลอม โดยการออกแบบสินค้าแบบใหม่ ให้มีความสวยงามและเหมาะกับการใช้งาน จะช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าได้ และผู้สูงอายุต้องการหาช่องทางในการจัดจำหน่ายเพิ่มขึ้น  The purposes of this research were 1) to study the wicker handicraft product that can developed into a creative economy, 2) to study the elderly opinion in Phanat Nikhom community on upgrading community ability to the creative economy of Phanat Nikhom, Chonburi Province. The informants were divided into 10 groups with the total of 100 people. The data was collected through semi-structured interviews and analyzed by Content Analysis. The research results revealed that; 1. The study of product that can developed into a creative economy in the community was “cha-lom” where the elderly are most proficient at. It was a simple design which suitable for develop into a variety of design and its well-demand in the market. 2. The elderly opinion on upgrading community ability to the creative economy – they thought that was able to develop “cha-lom” product or related product to a new design to be beautiful and useable to increase value of the product. They also wanted to find more distribution channel to sell the product.

References

กาสัก เต๊ะขันหมาก และพนิตสุภา ธรรมประมวล. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานบ้านปากคลองบางกระเพียง ตําบลหัวไผ่ อําเภอเมืองจังหวัดสิงห์บุรี สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์. NRRU Community Research Journal, 14(2), 44-56.

จุฑามาศ แหนจอน, สุเนตร สุวรรณละออง, พูลพงศ์ สุขสว่าง, พวงทอง อินใจ, จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ, ธนิดา จุลวนิชย์พงษ์, สุชาดา พงศ์กิติวิบูลย์, และเกศรา น้อยมานพ. (2565). ขุมปัญญาหัตถกรรมพื้นบ้านเพื่อสังคมแห่งความสุขของผู้สูงอายุยุคใหม่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 33(2), 14-29.

ชาย โพธิสิตา. (2554). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ทัศนีย์ วงค์สอน. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือของกลุ่มผ้าฝ้าย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

นริสรา ลอยฟ้า. (2563). การเพิ่มมูลค่าสินค้าและเพิ่มช่องทางการตลาดผ่านระบบพาณิชย์์อิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าไหมลายลูกแก้ว ตําบลนิคมพัฒนา อําเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 8(1), 214 – 226.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: วิสิทธิ์วัฒนา.

สุชาดา วงศ์สวาสดิ์และวิไลพร รังควัต. (2563). ความสุขของผู้สูงอายุในชนบทจังหวัดนครราชสีมา. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(10), 17-34

รายงานความเคลื่อนไหวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย. (2564). เข้าถึงได้จาก https://www.cea.or.th/th/single-research/Thailand-Creative-Movement-Repor

Creswell, J. W. (2009). Research Design: Qualitative, Quantitative, and Mixed Methods Approaches (3rded.). Thousand Oaks, CA: Sage Publications.

J. de la P. Girón, M. L. D. Hernández, & M.C. J. J. Castañeda. (2007). Strategy and factors for success: The Mexican handicraft sector. Performance improvement, 46(8).

Additional Files

Published

2023-01-31